5 ปรากฎการณ์ ESG พลิกระบบทุนใหม่ สู่เศรษฐกิจสีเขียว

by ESGuniverse, 18 ธันวาคม 2566

เปิด 5 ปรากฎการณ์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านโลกใหม่ จากที่ผ่านมายุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เคลื่อนย้ายทุนสู่โลกใหม่ เศรษฐกิจใหม่ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นำมวลมนุษยชาติก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

เมื่อความกังวลในเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาทางสภาพภูมิอากาศ เริ่มส่งผลกระทบทั้ง เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก จึงเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ทั้งหลายในการเข้าร่วมหนึ่งกัน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP28 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บทสรุปที่วางเป้าหมายการลงมือปฏิบัติมากขึ้น ในการลดการใช้พลังงานฟอสซิล หรือ เพิ่มประสิทธิภาพไม่ปล่อยคาร์บอน, เพิ่มพลังงานหมุนเวียน 3 เท่า ,จัดสรรเงินกองทุนเพื่อประเทศกำลังพัฒนาให้เปลี่ยนผ่าน และ ปฏิรูปการเกษตรและอาหาร

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านโลกใหม่ ทั้งด้านเงินทุน การจัดกลุ่มธุรกิจใหม่ การระดมทุน รวมถึงการ ขับเคลื่อนการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน

 

 

 

1.ฟอกเขียว (Greenwashing) คืออะไร มีความเสี่ยงต่อธุรกิจและโลกอย่างไร

การฟอกเขียว หรือ Greenwashing หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลหรือข้อความที่แสดงความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่เกินความเป็นจริง โดยหวังจะให้ธุรกิจสามารถขายของหรือสร้างกำไรบนความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

พูดง่ายๆ ก็คือ การสร้างภาพความเป็นกรีน รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยที่ธุรกิจยังไม่สอดคล้องกับความเป็นESG ยังคงส่งผลกระทบต่อสิ่งเวแลด้อม เช่น ปล่อยคาร์บอน ไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนรอบข้างพนักงานภายใน ขาดธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน สะท้อนให้เห็นว่า ่ธุรกิจไม่ได้เกิดจากการทำงานภายในจริงๆ แต่ทำกิจรรมเพียงเพื่อออกสื่อ

 

 

 

2.ภาคพลังงานและสาธารณูปโภค เป็นภาคธุรกิจใหญ่ที่สุดที่เกิดปัญหาฟอกเขียวมากที่สุด

จากฐานข้อมูลของ RepRisk จำนวนเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการสื่อสารที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประเด็น ESG ขององค์กรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2019-2022 หรือ 3 ปีที่ผ่านมา มีกรณีที่ถูกตั้งข้อสงสัยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกือบ 1,000 ครั้งต่อปี เทียบกับช่วงปี 2014-2018 ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 100 ครั้งต่อปี ซึ่งมาจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

นั่นหมายถึง ยิ่งมีกระแส และเทรนด์ในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม ยิ่งมีธุรกิจที่ฉาบฉวย ทำกรีนจากภายนอกมากขึ้น

 

 

 

3.Green taxonomy เรียกสั้นๆ ว่า “Taxonomy”

ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อจัดระบบการจำแนกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สินทรัพย์และรายได้ของธุรกิจ ที่สอดคล้องไปกับเป้าหมายความยั่งยืนที่สำคัญ โดยเฉพาะเป้าหมายที่สอดรับไปกับประเด็น ESG และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยสหภาพยุโรป (EU) เป็นกลุ่มประเทศแรก ๆ ที่นำ Green taxonomy มาประยุกต์ใช้ ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาฟอกเขียวและช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมีมาตรฐานกลางที่มีเงื่อนไขกำหนดความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลชัดเจน นำไปใช้อ้างอิงในการช่วยจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ ว่ามีผลกระทบต่อเป้าหมายด้าน ESG ได้ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมาตรฐานออกมาชัดเจนที่สุด

ถือเป็นการจัดระบบเพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย European green deal (ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อเข้าสู่ Carbon neutrality ภายในปี 2050)

 

 

 

4.แนวโน้มการระดมทุนเพื่อธุรกิจสีเขียวกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ภาคธุรกิจระดมเงินทุนในตลาดการเงินสีเขียวของโลกในช่วงปี 2019-เดือน ส.ค. 2023 มีมูลค่าสะสมสูงถึง 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไม่นับรวมการระดมเงินทุนของหน่วยงานรัฐและสถาบันการเงิน) เพิ่มขึ้นจากมูลค่าสะสมในช่วงปี 2014-2018 ที่ 4.0 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยราว 35% เป็นการระดมทุนของกลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้า และสาธารณูปโภค (Utilities)

ถือเป็นโอกาสของธุรกิจเกิดใหม่ในด้านพลังงาน และธุรกิจพลังงานแบบเดิม ที่เน้นฟอสซิล เปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนจากการระดมทุนของนักลงทุนทั่วโลก

 

 

 

 

5.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน มีทิศทางการระดมทุนเติบโตมากที่สุด

การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน มีการระดมทุนในตลาดการเงินสีเขียวช่วงปี 2019-เดือน ส.ค. 2023 ่มีมูลค่าสูงถึง 8.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการเติบโตขึ้นสูงกว่าช่วงปี 2014-2018 ถึงราว 176% ซึ่งมาจากการระดมเงินทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ (Green Bond)

ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก มีการระดมทุนในตลาดการเงินสีเขียวช่วงปี 2019-เดือน ส.ค. 2023 สูงถึง 8.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงกว่าช่วงปี 2014-2018 ถึงราว 176% ซึ่งมาจากการระดมเงินทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ (Green and sustainable bonds) ที่มีสัดส่วนสูงถึง 51% ของการระดมเงินทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 38% ในปี 2014-2018 ส่วนหนึ่งมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงดังล่าว

ส่วนกลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในไทย มีกลุ่มโรงไฟฟ้า และสาธารณูปโภค ได้เกิดการระดมเงินทุนในตลาดการเงินสีเขียวในอัตราที่ขยายตัวสูงเช่นเดียวกับตลาดโลก โดยในช่วงปี 2019-เดือน ส.ค. ปี 2023 มีมูลค่าระดมเงินทุนสะสมอยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสูงกว่าในช่วงปี 2014-2018 (มูลค่าสะสมที่ 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ถึงราว 167% ซึ่งมาจากการระดมเงินทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนสูงถึง 87% ของการระดมเงินทุนทั้งหมด (เทียบกับโลกที่มีสัดส่วนเพียง 51%) ส่วนหนึ่งมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาว (Long tenor) ท่ามกลางแนวโน้มดอกเบี้ยที่เข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น

กลุ่มพลังงานเป็นต้นกำเนิดหลักของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ไปสู่ภาคการผลิตต่างๆ ดังนัั้น การลดโลกร้อน จึงต้องเริ่มต้นจากากรยุติฟอสซิล หันไปใช้พลังงานทางเลือก ตามข้อตกลงของ COP28 ค่อยๆ ลดการใช้พพลังงานจากฟอสซิล โดยมีการตั้งกองทุนชดเชยจากประเทศพัฒนาสู่ประเทศกำลังพัฒนา ที่สำคัญที่ข้อตกลงการลดมีเทนถึง 80% ในธุรกิจพลังงานขนาดใหญ่ 50 บริษัท

นี่คือปรากฎการณ์ของการย้ายทุนไปสู่พลังงานทางเลือกที่ทั่วโลกมีพันธสัญญาต่อกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อโลกใหม่ที่ดีกว่าเดิม ผ่าน 5 ปรากการณ์

 

ที่มา..บทวิเคราะห์ SCB EIC อ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานดังต่อไปนี้
-สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
-EBA progress report on greenwashing และ RepRisk ESG -https://www.climatebonds.net/taxonomy ณ เดือน ก.ย. 2023)
-Bloomberg