Sea Academy ปั้น บอร์ดเกม Wishlist ปลุกทักษะจัดสรรเงิน บันดาลฝัน เด็กไทย

by ESGuniverse, 20 ธันวาคม 2566

กระแสดี พร้อมเดินหน้าต่อ ! ‘Sea (ประเทศไทย)’ กางบอร์ดเกมการเงิน Wishlist เกมสนุก ปลูกฝังวินัยการเงินให้เด็กไทย ตั้งเป้าปี 67 เตรียมแจกฟรีอีก 500 กล่อง ขยายผลสู่บุคลากรการศึกษาและเยาวชน

 

 

​คนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ยังขาดทักษะความรู้เรื่องการเงิน ปัญหาเหล่านี้จุดประกายให้ Sea (ประเทศไทย) ยักษ์ใหญ่ที่มี 3 ธุรกิจหลักในไทย ทั้งเกมออนไลน์ Gareena , แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee และธุรกิจให้บริการทางการเงินดิจิทัล SeaMoney เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้เยาวชนตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสร้างผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีและลดโอกาสการสร้างหนี้เสียในอนาคต

จึงนำมาสู่ความร่วมมือกับ Wizards of Learning สถาบันบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ และ The Money Coach พัฒนาบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน” ซึ่งล่าสุด ได้มีการจัดเวิร์คช็อปฝึกอบรมคุณครู ให้สามารถนำบอร์ดเกมการเงิน Wishlist ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เริ่มนำร่องนำบอร์ดเกมการเงิน Wishlist ไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้แล้วในกว่า 20 โรงเรียน

 

  

​พุทธวรรณ สุภัทรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร Sea (ประเทศไทย) เล่าว่า บอร์ดเกม Wishlist ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักเรียน โดยเฉพาะด้านการกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เรื่องการเงินที่เข้าใจยาก สิ่งใกล้ตัวที่ต้องมีวินัยและการวางแผนตั้งแต่รากฐานชีวิต

จุดเด่นของที่คุณครูพบว่า บอร์ดเกมการเงิน Wishlist เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยสร้างประสบการณ์จำลองที่ช่วยให้เยาวชนที่ยังมีประสบการณ์ทางการเงินค่อนข้างจำกัด ได้ทำความรู้จักกับภาพรวม “จักรวาลทางการเงิน” ความสนุกสนานที่เกิดขึ้นระหว่างเกมทำให้สังเกตเห็นพัฒนาการที่ชัดเจน เด็กได้รู้จักวิธีการบริหารจัดการเงินภายในเกมระหว่างการเล่นรอบแรกและรอบถัด ๆ ไป นี่คือพัฒนาการที่เกิดขึ้นระหว่างเกม ที่เป็นทักษะในการวางแผนชีวิต

การเพิ่มพูนความรู้ เด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้จากการสังเกตวิธีการจัดการการเงินของเพื่อนร่วมเกมอีกด้วย นับเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ช่วยเปิดมุมมองเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรเงินได้อย่างเป็นธรรมชาติ เริ่มมีการจัดการทางการเงินที่ดีขึ้น มีการคิดวิเคราะห์และวางแผนทางการเงินที่ระมัดระวังและตอบโจทย์ ‘รายการความฝัน’ ซึ่งเป็นภารกิจภายในเกมมากขึ้น

 

 

ถอดบทเรียนจากเกมสนุกสอดแทรกสถานการณ์ชีวิตจริง

ในระหว่างเกม คุณครู จะทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้(Learning Facilitator) ช่วยถอดบทเรียน ก็จะทำให้ผู้เล่นเชื่อมโยงสถานการณ์ภายในเกมเข้ากับชีวิตจริงได้ และเข้าใจว่าจะนำประสบการณ์จากเกมไปปรับใช้ในการจัดสรรเงินในชีวิตประจำวันของพวกเขาอย่างไร

ปลายทาง ล่าแต้มตาม “ความฝัน” เหนือ “เงินตรา”

กลวิธีของการสร้างบทเรียนจาก เล่นบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist”มีโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ผู้เล่นได้พลิกแพลงวางแผนโดยเริ่มต้นจาก

     - ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับบทบาทเป็นเด็กวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตช่วงปิดเทอมใหญ่ที่ต้องทำรายการความฝัน Wishlist ที่แตกต่างกันไปตามการ์ดที่จั่วได้

     -โดยผู้ชนะในเกมนี้จะไม่ใช่ผู้ที่มีเงินมากที่สุด แต่เป็นผู้ที่ได้แต้มจากการทำรายการความฝัน Wishlist ได้สำเร็จมากที่สุด

     -นี่คือ บทเรียนสรุป ของปลายทาง นั่นคือ การบริหารจัดการเงินให้ดีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

​สิ่งที่บอร์ดเกมการเงิน Wishlist จะพาผู้เล่นไปทำความรู้จักมีหลากหลายแง่มุม เช่น
     -การจัดสรรรายรับให้มีสภาพคล่องทางการเงิน
     -การแบ่งกระเป๋าเงินออมและใช้จ่าย
     -การซื้อสินค้าให้เกิดความคุ้มค่าและตอบโจทย์เป้าหมาย

     -การบริหารหนี้สินจากการกู้เงิน การวางแผนการผ่อนสินค้า

     -การทำให้เงินงอกเงย เช่น เลือกออมเพื่อรับดอกเบี้ย หรือ เลือกทำงานเพื่อสร้างรายได้เสริม

  

 

เปลี่ยนการเงินชวนปวดหัว
สู่ปลุกความท้าทายจัดสรรการเงินสู่ชีวิต

คุณครูบรรณสรณ์ โยธินอุปไมย คุณครูโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ผู้มีส่วนสอนบทเรียนผ่านบอร์ดเกม กล่าวว่า จากการนำเกมเอาไปใช้ในกิจกรรมชมรมกับนักเรียนชั้นมัธยมต้น พบว่าเด็กนักเรียนเกิดความสนใจทันทีและต้องการที่จะเข้ามาลองเล่นแม้ว่าเนื้อหาของบอร์ดเกมจะเกี่ยวกับการบริหารเงิน ซึ่งมองในบริบทของเด็กมัธยมต้นแล้วยังคงเป็นเรื่องยากและไกลตัว

​”ในช่วงแรกนักเรียนอาจจะบ่นว่าปวดหัวกับการจัดการเงินที่ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย แต่พอเล่นไปเรื่อย ๆ พวกเขาจดจ่อกับเกมมากขึ้น เห็นวิธีการเล่นที่หลากหลายจากเพื่อน และอยากกลับมาเล่นซ้ำใหม่อีกเพื่อทดลองวิธีการจัดสรรเงินใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่นักเรียนเข้าใจว่าการจัดสรรเงินนั้นมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในชีวิต หลังจากนี้จะลองนำไปสอนในกลุ่มเด็กมัธยมปลายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยที่จะต้องรับผิดชอบการทางการเงินมากขึ้น”

  

 

ทางด้าน คุณครูศิริพร ทุมสิงห์ คุณครูแนะแนว โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เผยว่า จากกิจกรรมที่ได้เวิร์กชอป ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถเริ่มนำบอร์ดเกมไปสอนเด็ก ๆ ได้หลากหลายวัย ตั้งแต่ชั้นประถม เด็กมัธยมต้น และมัธยมปลาย เพราะว่าเกมสามารถสร้างความเข้าใจได้ในหลายระดับ โดยเราสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์การสอนของตัวเอง รวมถึงความเข้าใจของเด็ก ๆ อีกด้วย ซึ่งหลังจากเล่นเกมเราสามารถต่อยอดในการให้ความรู้ หรือช่วยวิเคราะห์จุดที่พลาดการเล่นเกม เพื่อนำไปเชื่อมกับเนื้อหาเรื่องการจัดทางการเงินในวิชาเรียนได้ด้วย นอกจากเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้แล้ว การมาทำความรู้จักกับบอร์ดเกม Wishlist ในครั้งนี้ก็กระตุ้นให้คุณครูอย่างเราหันหลับมามองการจัดสรรเงินของตนเองด้วยเช่นกัน

​สำหรับก้าวต่อไป Sea (ประเทศไทย) มีเป้าหมายที่จะผลักดันบอร์ดเกมการเงิน Wishlist ให้เกิดการเข้าถึงในวงกว้างยิ่งขึ้น โดยเตรียมทยอยแจกบอร์ดเกมการเงิน “Wishlist จัดสรรเงิน เติมความฝัน” อีกราว 500 กล่องในปี 2567 เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งบุคลากรทางการศึกษาและเยาวชน ผ่านแหล่งการเรียนรู้ เช่น TK Park และ กิจกรรมการส่งเสริมความรู้ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

​สำหรับใครที่สนใจบอร์ดเกมการเงินดีๆ สำหรับเด็กแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดบอร์ดเกมWishlist ในเวอร์ชั่น Print & Play ไปเล่นได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้จาก SeaAcademy.co และสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมเกี่ยวกับบอร์ดเกม Wishlist ได้ทาง Facebook Sea Thailand