ผู้เชี่ยวชาญยั่งยืน ชวนปรับทัศนคติ 4ฐานคิดโลกยั่งยืน 6 กรอบร่วมมือ

by ESGuniverse, 22 มกราคม 2567

เจฟฟรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนจากUN วิพากษ์สงครามเพิ่มภาวะโลกร้อน ปล่อยก๊าซเรือนกระจก แนะปรับวิธีคิดเลิกแข่งขัน เอาชนะ สร้างพลังบวก ฟื้น 4 วิธีคิด และ 6 ความร่วมมือนำโลกสู่สันติ  

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปี 2023 ที่ผ่านมา ประเทศไทยรวมถึงทุกประเทศทั่วโลกเผชิญปัญหาสภาวะอากาศที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยอุณหภูมิเพิ่มเฉลี่ยขึ้นถึง 1.48 องศาเซลเซียส เป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอิทธิพลจากปรากฎการณ์เอลนีโญ( El Niño)

 

แล้วพวกเราควรทำเช่นไร?

 

ในงาน Sustainability Talk : Towards a Green ASEAN ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ แซคส์ ( Prof. Jeffrey Sachs) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์กลางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประธานเครือข่ายเพื่อการพัฒยายั่งยืน ( UN Sustainable Development Solutions Network -SDSN) ได้ขึ้นเสวนาเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวของกลุ่มประเทศอาเซียนสีเขียวไว้ว่าการปรับทัศนคติมุมมองต่อปัญหาทึ่เปลี่ยนการแข่งขันเพื่อชิงความเป็น15 สู่การสร้างความร่วมมือระหว่างภูมิภาค

ในสภาวะที่มีสงครามเกิดขึ้น ณ ตอนนี้ ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาลและส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นสงครามที่ต่างแย่งชิงความเป็นที่1 เหตุการณ์อิสราเอล -ปาเลสไตน์,ยูเครน-รัสเซีย รวมถึงสหรัฐ ที่หมกมุ่นความขัดแย้งกับจีน ที่ทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง (Climate Change) หรือ การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)ไม่ช่วยขจัดความยากจน ความหิวโหย

สำหรับทุกคน ไม่ควรนิ่งนอนใจ หันมาสร้างความร่วมมือ ที่จะแก้ปัญหา ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การจัดหาเงินทุนก็ดี เพื่อให้โลกของมีความเท่าเทียมและปลอดภัย ภายใต้การใช้นโยบายและการประสานงานร่วมมือกันของหลายๆประเทศ จะช่วยให้เราเข้าใกล้ความจริงได้มากยิ่งขึ้น

“เราต้องเปลี่ยนทัศนคติว่า โลกใบนี้ปราศจากศัตรูที่แท้จริง ไม่จำเป็นที่จะต้องค้นหาคำตอบว่าใครเป็นที่หนึ่ง เราจำเป็นต้องก้าวผ่านความคิดเหล่านี้ สร้างความร่วมมือ ลงมือปฏิบัติ เคารพทุกฝ่าย สร้างสันติภาพ ให้ได้จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน“ - ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ กล่าว

สิ่งสำคัญของการจะไปให้ถึงจุดหมายได้คือ เราควรให้สำคัญกับประเด็นของทิศทางการขับเคลื่อนของทั่วโลก ทิ้งนี้เกิดข้อถกเถียง

โดยที่ผ่านมาทางประเทศสมาชิกขององค์กรสหประชาชาติได้มีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน และจึงได้ข้อสรุปเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals: SDGs ออกมาในท้ายที่สุด

เพื่อที่จะดำเนินตามแบบแผน Prof. Jeffery ได้บอกเล่าถึงอีก 4 ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่

     -Economic ในด้านของเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา เมื่อรากฐานดีก็ง่ายที่จะต่อยอดไปสู่สังคมคุณภาพและการทำธุรกิจต่างๆในอนาคต
     -Social Justice ในด้านของสังคม สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเพศ เชื้อชาติ ภาษา ประกอบด้วยประวัติศาสตร์และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ทำให้ทุกคนตื่นรู้ในสิทธิของตัวเอง สามารถนำมาปรับแก้ปัญหาด้านสังคมและสร้างความยุติธรรมในสังคมได้
     -Dimension ในด้านของการลดสภาวะแก๊สเรือนกระจก ภาวะโลกร้อน ฝุ่นและมลภาวะต่างๆ ด้วยการใช้พลังงานทดแทน ลดการปล่อยคาร์บอน โดยการวางแผนอย่างชัดเจนเพื่ออนาคตอันใกล้ไม่ให้สายเกินแก้ไปมากกว่านี้
     -Mindset ในด้านของความคิด เราควรยุติการให้ความสำคัญสงคราม การทหาร ควรหันมาให้ความสำคัญกับด้านความสงบสุขตาม SDGs ข้อที่ 16 และการให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันตาม SDGs ข้อที่ 17 เพราะเมื่อพัฒนาจะต้องพัฒนาไปด้วยกัน ส่งเสริมกันในทุกๆประเทศ

นี่คือสิ่งที่ท้าทายประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างที่สุด เพื่ออากาศสะอาดปราศจากมลภาวะ, การนำเข้าพลังงานทดแทนจากประเทศเพื่อนบ้าน, การนำประเทศสู่ Zero Carbon สิ่งเหล่านี้ต้องใช้การร่วมมือและการประสานงานกันอย่างมาก

“การมีแบบแผนเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ แต่การวางแผนนั้นคือทุกอย่าง” - Dwight David Eisenhower หนึ่งในผู้นำของสหรัฐอเมริกา

 

6 ทางออก โจทย์ฟื้นฟูสู่อนาคต6 คำแนะนำของ ศาตราจารย์เจฟฟรีย์ เพื่อการวางแผนสู่อนาคตที่ยั่งยืน

 

      -Quality Education การศึกษาที่ได้คุณภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญ ตามองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) เพราะเมื่อมีการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ ก็เท่ากับว่าเข้าใกล้จุดมุ่งหมายไปกว่า 70% แล้ว

     -Healthcare การรักษาสุขภาพทั้งกายและใจ เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
     -Energy Transformation การเปลี่ยนพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด ภายใต้ความกดดันของการผันผวนทั้งในด้านสงคราม เศรษฐกิจ การเมือง ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050
     -Sustainable Land Use การใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน นับเป็นการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ทั้งในแง่ความหนาแน่นของเมืองหลวง กระแสข่าวที่รุนแรง และเทคโนโลยีที่มีมากมาย
     -Urban Infrastructure การวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ในปัจจุปันประเทศไทยถือว่าเป็นสังคมเมืองที่มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การวางจัดการผังเมือง อาทิเช่น ที่อยู่อาศัยเพื่อสังคม พื้นที่สีเขียวจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน
     -Digital Platform การใช้สื่อดิจิทัล เป็นอาวุธที่มีพลังที่สุด ใช้เพื่อพัฒนาหรือส่งต่อข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา, สุขภาพ โครงสร้างด้านกายภาพ, พลังงานสีเขียว และ การเกษตร สู่ประชาชนให้ทั่วถึงได้ทุกภาคส่วน

เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การที่เราพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับการเป็นมิตรกับประเทศรอบข้าง จับมือกันไว้อย่างแข็งแกร่ง ก็จะสามารถก้าวผ่านทุกอุปสรรคไปสู่อนาคตตามเป้าหมายและแบบแผนที่วางไว้ได้อย่างแน่นอน