‘Too Good To Go’ แอปปลดล็อกซูเปอร์ มีของค้างหมดอายุ จัดโปรระบายสต็อก ก่อนทิ้งลงถัง

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ,วันทนา อรรถสถาวร, 1 กุมภาพันธ์ 2567

‘Too Good To Go’ แพลตฟอร์มแจ้งเตือนสินค้าค้างสต็อก วางบนเซลฟ์ ก่อนหมดอายุ AIช่วยซูเปอร์ บริหารสินค้า เร่งจัดโปรส่งเสริมการขาย หรือบริจาค แทนทิ้งเป็นขยะเพิ่มคาร์บอน ฉุดรายได้ ถ่วงต้นทุน

 

 

Too Good To Go (TGTG) บริษัทสัญชาติเดนมาร์กก่อตั้งมากว่า 8 ปี ได้เข้าไปช่วย เปลี่ยนวิธีการจัดการขยะจากเศษอาหารในร้านอาหาร จึงถูกนำมาใช้บริหารสต็อกสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยการคำนวณหาสินค้าใกล้หมดอายุในร้านขายของชำตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา

TGTG พัฒนาคู่กับการสร้างเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ตนานาชาติ (SPAR) แก้โจทย์เพนพอยท์ ขยะมหาศาลเกิดจากจากอาหาร โดยใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์(AI-Artificial Intelligence) ช่วยเก็บข้อมูลและบริหารจัดการสินค้าค้างสต็อกที่ใกล้หมดอายุในซูเปอร์มาร์เก็ต

เมทเต้ ลุกกะ (Mette Lykke) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TGTG กล่าวถึงการปัญหาหลักของร้านค้าปลีกคือการบริหารจัดการสต็อกอันยุ่งยาก ทำให้ในแต่ละวันจะต้องมีพนักงานคอยตรวจสอบสินค้าที่ใกล้หมดอายุจำนวนนับหลายพันหลายหมื่นรายการ (SKU) ที่ยังไม่ถูกหยิบออกจากชั้นวางขายสินค้า

นี่คือความยุ่งยากและใช้เวลาในการบริหารจัดการและไม่สามารถจัดการได้ทั่วถึง จึงมีความผิดพลาดต้องปล่อยให้หมดอายุก่อนถูกหยิบไป แม้จะมีกลยุทธ์จัดแคมเปญ ส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถมก็ยังไม่ทันการณ์

แนวคิดการหา”ตัวช่วย” ผ่านแอปพลิเคชั่น ในการบริหารจัดการสต็อกมาช่วยเตือนเมื่อถึงเวลาก่อนจะเป็นสินค้าค้างสต็อกทิ้งลงถังขยะจึงเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้สูญเสียรายได้ เพิ่มต้นทุน แอปมาช่วยเตือนก่อนทิ้ง จึงเป็นการลดการสูญเสีย ลดขยะ ลดโลกร้อน

 วิเคราะห์เจาะลึกสินค้าบนเซลฟ์

พฤติกรรม ฤดูกาล บริหารสต็อก

เมทเต้ ลุกกะ กล่าวว่า"ซอฟต์แวร์ของ TGTG จะช่วยจัดเก็บข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ฤดูกาล และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยพิจารณาสินค้าในร้านค้าและสต็อก เพื่อช่วยเตือนสินค้าที่ใกล้ถึงวันหมดอายุ เครื่องมือนี้ยังช่วยให้พนักงานติดตามวันหมดอายุได้ชัดเจนก่อนโดยอัตโนมัติ ด้วยระบบAI ทำให้หลงเหลือสินค้าให้พนักงานจะตรวจสอบผลิตภัณฑ์ด้วยด้วยตัวเองเพียง 1% - 7% ทำให้ง่ายในการบริหารจัดการ ได้หลากหลายทางเลือก เมื่อแอปฯ แจ้งเตือนการหมดอายุล่วงหน้าทั้งหมดทำให้วางแผนการบริหารจัดการ ลด แลกแจกแถม หรือ บริจาคให้กับผู้ต้องการ”

บริษัทเริ่มได้ทดลองแอปกับเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศสเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการสต็อกสินค้า ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับในปี 2559 ซึ่งร้านขายของชำขนาดใหญ่มีข้อบังคับห้ามทิ้งขยะจากอาหาร ต้องบริจาค ทำให้เจ้าของร้านจึงใช้แอปTGTGเข้ามาช่วยจัดการโดยการมอบส่วนลด เช่น ชีสใกล้หมดอายุภายใต้ 2 วัน ลดราคาถึง 50% จึงเกิดวิธีสร้างทางเลือกให้ร้านขายของชำประจำท้องถิ่นออกแบบแคมเปญลดแลกแจกแถมแตกต่างกันตามความต้องการของคนในท้องถิ่น เช่น แคว้น นอร์ม็องดี ผู้คนรุมซื้อกาเมมเบิร์ตเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน ขณะที่อยู่ในเทือกเขาแอลป์ ชีสสวิสจะขายได้ง่ายในช่วงฤดูหนาว ซึ่งมีแร็กเล็ตต์ (อาหารท้องถิ่น) ปรากฏอยู่ในเมนูในหลายบ้าน

ภาวะเงินเฟ้อตัวการหลัก
กระตุ้นของแพงอายุสินค้าสั้น

จอเเกน เดียร์การ์ด แจนเซ่น (Jorgen Dejgaard Jensen) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ผู้วิจัยเรื่องเศรษฐกิจของเศษขยะจากอาหาร ให้ข้อมูลว่า ภาวะเงินเฟ้อกำลังผลักดันความต้องการสินค้าที่มีอายุสั้นราคาถูกให้สูงขึ้น ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างจูงใจการซื้อด้วยการทำโปรโมชั่น มอบส่วนลดเมื่อลดปริมาณขยะและเพิ่มยอดขาย

“จะดีกว่าหากซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรในการกระตุ้นการซื้อสินค้าผ่านการลดราคา ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจ ” แจนเซ่นกล่าว และยอมรับว่า แม้จะเป็นความเสี่ยงหากปล่อยให้อาหารที่ใกล้หมดอายุในบ้านผู้บริโภคซื้อไปในท้ายที่สุดก็ถูกทิ้งกลายเป็นขยะที่บ้านก็ตาม

องค์การสหประชาชาติประเมินว่าประมาณสัดส่วน 30% ของอาหารที่ผลิตทั่วโลกถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์กลายเป็นขยะ สัดส่วน 8-10% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำให้สูญเสียรายได้ เพิ่มภาระต้นทุนถึงเฉลี่ย 1.6% ของยอดขาย โดยเฉพาะทางสถาบันค้าปลีกสภาพยุโรป ( European Retail Institute) ระบุว่า อาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกำไรได้ต่ำ

“แน่นอนว่ามันเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีสำหรับผู้ใช้หากคุณซื้อของที่เลยวันหมดอายุไปแล้ว แต่ผลกระทบทางการเงินต่อซูเปอร์มาร์เก็ตจากขยะอาหารก็ค่อนข้างสำคัญเช่นกัน”Lykke กล่าว

85 ล้านคนยุโรป-สหรัฐ ช่วยลดขยะ
ช้อปสินค้าค้างสต็อกผ่านแอปTGTG

ตั้งแต่ปลายปี 2558 แอปTGTG ได้บริหารจัดการขยะจากอาหาร เชื่อมโยงกับผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอีก 15 ประเทศในยุโรป เข้าถึงข้อมูลสินค้าในร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ และร้านขายของชำที่ต้องการแยกชิ้นส่วนอาหารที่ขายไม่ออก (โดยมีสัดส่วนร้านขายของชำกใหญ่ที่สุด)

ทั้งนี้ มีผู้บริโภคใช้แอปถึง 85 ล้านคน ที่เข้าไปเลือกซื้อสินค้าใส่ปุ่มถึงที่เรียกว่า "Suprise Bags” โดยกระจายไปในสินค้าจากแบรนด์ต่างๆ อาทิ Starbucks, Pret A Manger และ Carrefour มีมูลค่าสินค้าราว 5 - 10 ดอลลาร์ หรือ สัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของราคาสินค้า

พร้อมกันนั้น TGTG ยังได้ได้เปิดตัว "พัสดุมหัศจรรย์" (magic parcels) นำสินค้าจำกัดจำนวน ขายตรงไปยังผู้ผลิต เช่น Unilever

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังปัญหาทั่วโลกเผชิญคือ ปริมาณขยะอาหารมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากขยะบ้าน โดยภูมิภาคในสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีขยะในครัวเรือนต้องรับผิดชอบต่ออาหารขยะมากกว่าครึ่งหนึ่ง วันหมดอายุก็มีบทบาทเช่นกัน หลายคนสับสนระหว่างฉลากที่ระบุวันหมดอายุที่ไม่สามารถรับประทานได้อีกต่อไป กับ การกำหนดอายุการบริโภคลงบนฉลาก

Lykke ทิ้งท้ายว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงต้องคัดทิ้งผลิตภัณฑ์เมื่อถึงกำหนดวันหมดอายุ ขณะที่หน่วยงานกำกับควรมีหน้าที่ชี้แจงรายละเอียดวันหมดอายุลงบนฉลากให้ชัดเจน”

ที่มา: https://www.bloomberg.com