6 เส้นทาง สร้างผู้นำเปลี่ยนโลกยั่งยืน

by ชวิศา เศรษฐบุตร, 9 กุมภาพันธ์ 2567

สำรวจวิธีที่สร้างพลังขับเคลื่อน 6 เส้นทาง ที่ผู้บริหารควรพิจารณา เพื่อวางรากฐานในการเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร

 


จากสถานการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ประกอบกับกฎระเบียบที่เข้มงวดที่มีผลบังคับใช้ องค์กรต่างๆ อยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง ในการตอบสนอง วันนี้เราพาไปสำรวจวิธีที่สร้างพลังขับเคลื่อน จากผู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคนในองค์กรร่วมกันเดินทางสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง


โซล ซาลินาส ( Sol Salinas) รองประธานบริหาร หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนสำหรับทวีปอเมริกา แคปเจมิไน (Capgemini) เผยถึงทิศทางที่โลกกำลังหันมาสนใจสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจแทนที่มองแค่เพียงผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียว จึงถือเป็นข่าวดี เพราะผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารในสหรัฐฯ สัดส่วนเกินครึ่ง มีถึง 63% มีทิศทางขับเคลื่อนองค์กรสู่การให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติทางสังคมมากขึ้น

สิ่งสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ประสบความสำเร็จ ผู้นำจำเป็นต้องก้าวนำหน้าและตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจกับ “ความคาดหวังด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน” มากำหนดทิศทางอนาคตการพัฒนาธุรกิจ

นี่คือ 6 เส้นทาง ที่ผู้บริหารควรพิจารณา เพื่อวางรากฐานในการเปลี่ยนแปลงความยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร


1 ความยั่งยืนเริ่มต้นจากสร้างความเข้าใจในห้องประชุม

เนื่องจากคำว่า 'ความยั่งยืน' กลายเป็นกระแสหลักในโลกธุรกิจ การหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม จึงไม่ควรเป็นสิ่งที่บริษัทใดๆ จะต้องคำนึงถึงในภายหลัง ควรเป็นรายการสำคัญในการอภิปรายในวาระการประชุมคณะกรรมการ เพื่อช่วยแจ้งกลยุทธ์องค์กรของธุรกิจจึงจะสามารถขยายไปสู่การสร้างความเข้าใจให้กับนักลงทุน และลูกค้าได้อย่างชัดเจน

ทั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง จำเป็นต้องเข้าใจตรงกันว่า พวกเขาควรยอมรับความยั่งยืนเป็นโอกาสในการลงทุนทางด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนชัดเจน จึงจะต้องมีการอธิบายและสร้างทำความเข้าใจอย่างดีจากคณะกรรมการ ทีมผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงผู้ชมภายนอก เช่น นักลงทุนและลูกค้า

ผลการศึกษายืนยันว่า 88% ของผู้บริหารในองค์กรที่มีคณะกรรมการมีส่วนร่วม กล่าวว่า ภายในปี 2583 จะมีการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างสมบูรณ์แบบ

บอร์ดบริหารจึงมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจชัดเจนในองค์กร เพื่อดึงดูดการลงทุนให้เป็น “แบรนด์ที่นั่งในใจ” พร้อมให้การสนับสนุนแผนการระดมทุน ของธุรกิจในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลก เช่น การช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม มีบทบาทช่วยลดโลกร้อน

จากข้อมูลของ The Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) ได้มีวางมาตรฐานดัชนีให้องค์กรประเมินความสำคัญสองด้านในการดำเนินการด้านความยั่งยืน ที่จะช่วยให้เข้าใจทั้งฝั่งด้านการหารายได้ พร้อมกันกับการมีส่วนลดการปล่อยคาร์บอน

 

2 ธุรกิจไม่อาจเติบโตได้ภายใต้สังคมที่ล้มเหลว

ความยั่งยืนทางสังคมควรรวมอยู่ในวาระการประชุมของห้องประชุมและในกลยุทธ์องค์กร

เนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) จะสร้างแรงผลักดันและวัตถุประสงค์ด้านสภาพภูมิอากาศและทางสังคมที่เกี่ยวพันกัน

SDGs ครอบคลุมถึงความยากจน ความหิวโหย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศ งานที่มีคุณค่าและศักดิ์ศรี ความไม่เท่าเทียม และสันติภาพและความยุติธรรม

เครือข่ายยูเอ็นโกลบอลคอมแพ็ก (United Nations Global Compact) มองว่าภายในความยั่งยืนทางสังคม มีกลุ่มเป้าหมายที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า พนักงานในห่วงโซ่อุปทาน และชุมชนท้องถิ่น

ยิ่งไปกว่านั้น ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารในสหรัฐฯ เกินครึ่ง 63% กล่าวว่า องค์กรของตนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางสังคมมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น การวิจัยอ้างอิงถึง Verizon ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในสหรัฐฯ โดยร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ที่มุ่งเน้นไปที่ชุมชนด้อยโอกาส เปิดกว้างรับสมัครผู้มีความสามารถที่หลากหลาย เพื่อเป็นการส่งเสริมการไม่แบ่งแยก ผ่านการฝึกอบรมด้านความหลากหลาย เพื่อทำให้ทุกคนในองค์กรมีความสามารถ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าให้กับองค์กร

ดังนั้น แรงงานในสหรัฐฯ จึงมีสัดส่วนผู้หญิงหรือคนผิวสีเกือบ 60%

3 ประเมินขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แม่นยำ

เพื่อให้องค์กรเข้าใจการปล่อยก๊าซขอบเขตที่ 3 และระบุกลไกในการลดการปล่อยเรือนกระจก เน้นในด้านการบริหารจัดการข้อมูลเป็นศูนย์กลาง นำมาวิเคราะห์และประเมินผลวางแผน 3 ด้าน คือ

 

#การจำแนกขอบเขตที่ 3 จะต้องมีการวิเคราะห์มูลและวัดผล

#การรวบรรวมข้อมูล พร้อมกันกับการแบ่งปันวิธีการในการจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขอบเขตที่3

#การสร้างความเข้าใจกับทืีม และตัดสินใจวางแผนทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขอบเขต 3

 

4 คิดเป็นองค์รวม ออกแบบกลยุทธ์ได้ครอบคลุมรอบด้าน เป็นวงกลม สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

หากคุณเคยได้ยินคำว่า 'เศรษฐกิจหมุนเวียน' เป็นสิ่งเดียวกันกับ 'การออกแบบแบบวงกลม' ที่มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน

การออกแบบแบบวงกลมคือ การหาวิธีการนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ แทนที่จะใช้สินค้าแล้วทิ้งไป การออกแบบรูปแบบนี้ช่วยให้นักออกแบบสามารถนำความยั่งยืนและการเคารพต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ได้

องค์กรควรพิจารณา บูรณาการหลักการหมุนเวียนในโมเดลธุรกิจของตน เพื่อลดของเสีย ยืดอายุของผลิตภัณฑ์ และดึงดูดผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืน

 5 ปิดช่องว่างความเข้าใจผิด

เนื่องจากความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนเริ่มแพร่ข้อมูลข่าวสารมากขึ้นทั่วทั้งบริษัท ผู้บริโภคจึงเริ่มกังขาเกี่ยวกับการฟอกเขียว (Green Washing) มากขึ้น

ในความเป็นจริง 50% ของผู้บริโภค Gen Z เชื่อว่าองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่กำลังดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวสารต่างๆ ล้วนแล้วแต่กำลังฟอกเขียว

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารไม่ได้กังวลกับข้อกล่าวหานี้ เพราะเชื่อว่าจะรับมือได้

ผู้นำประมาณครึ่งหนึ่ง สัดส่วน 51% ได้มีการวางกลยุทธ์การสื่อสารและการโฆษณาบนความรับผิดชอบเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาตามมา

ทั้งนี้ มีกรณีที่พบว่า ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นไม่ตรงปก ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด จะผลกระทบต่อผลการดำเนินธุรกิจ ผลประกอบการและกำไร นำไปสู่การเสียชื่อเสียงและการขาดความเชื่อมั่นต่อสาธารณชน รวมถึงเสี่ยงต่อการเสียค่าปรับจำนวนมากจากการทำผิดกฎกติกาการกำกับดูแลต่างๆ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์

เพื่อป้องกันการล้างสีเขียว ธุรกิจส่งเสริมให้องค์กรเปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใส โดยการปิดช่องว่างระหว่างเป้าหมายกับผลการดำเนินงานที่ทำไปแล้วอย่างรูปธรรม


6 เปิดกว้างในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่

มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยสำคัญ ในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวได้ ผู้บริหารมากกว่าครึ่ง สัดส่วน 54% วางแผนให้
องค์กรนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงาน เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI ), เทคโนโลยีการทำงานอัตโนมัติ หรือแฝดดิจิทัล สามารถนำมาช่วยทำให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาด้านความยั่งยืน

โดยเฉพาะในยุคที่ AI กำลังได้รับแรงผลักดันอย่างรวดเร็วในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะสามารถทำนายภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยติดตามคุณภาพอากาศ และวัดปริมาณการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์/บริการ ตลอดจนพันธมิตรคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน
อีกทั้งยังช่วยในการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นและติดตามตรวจสอบตามเวลาแท้จริงทันทีทันใด (Real Time)

การวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารเกือบทั้งหมด สัดส่วน 96% ระบุว่า AI ช่วยในเชิงสร้างสรรค์ได้ เพราะมีประสิทธิภาพในการประมวลผลได้รวดเร็วแม่นยำ และยังดึงดูดความสนใจในระดับสูง ผลการสำรวจพบว่า องค์กรที่ใช้ AI มาช่วยปรับปรุง การเข้าถึงวิเคราะห์ลูกค้าและสินค้า ที่ช่วยแบ่งแยกของผลิตภัณฑ์และบริการได้ชัดเจน เพื่อให้คนทุกกลุ่มได้รับการบริการ ตอบโจทย์คนทุกคน แม้กระทั่งผู้พิการและผู้บกพร่องบางด้าน ยังช่วยให้บุคคลเหล่านี้มีบทบาทในการกำหนด generative AI ช่วยในการทำงานในองค์กรได้อย่างดี

การสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรที่ยั่งยืนต้องอาศัยระยะเวลา แต่ผู้นำตัวจริง จะพร้อมเข้าไปรับผิดชอบ พร้อมเผชิญหน้ากับทุกปัญหาและอุปสรรค ระหว่างการเดินทาง การทำงาน เพื่อสร้างโลกใบใหม่สู่อนาคตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

 

ที่มา
https://www.esgtoday.com/guest-post-six-steps-leaders-can-take-to-accelerate-their-sustainability-transformation-efforts/