จุดเปลี่ยนอุตฯไทย ก้าวพ้นกับดัก2.0 อิเล็กฯ-ยานยนต์ไฟฟ้า-ดิจิทัล ปลุกไทยเสืออาเซียน

by ESGuniverse, 19 กุมภาพันธ์ 2567

ท่ามกลางปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของทั้งโลกและไทยที่กำลังเผชิญจากปัจจัยเสี่ยงนอกประเทศทั่วโลก อาทิ ความขัดแย้งทางขั้วอำนาจทางการการเมืองโลก ปัญหาภาวะโลกร้อน เกิดภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตามพันธสัญญาประชาคมโลกกว่า 200 ประเทศทั่วโลก มุ่งไปสู่การยกเลิกพลังงานฟอสซิล เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในปี 2573

 

ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมยังต้องเผชิญกับปัจจัยที่มีความท้าทายของในเชิงโครงสร้าง ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลาง ยกระดับไปสู่รายได้สูง หลังจากเติบโตมาจากอุตสาหกรรมหนัก ใช้แรงงานและรับจ้างผลิต (OEM) แข่งขันทางด้านต้นทุนราคาต่ำ ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ขาดการลงทุนใหม่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แห่งโลกยุคใหม่กำลังขับเคลื่อน โดยเฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรรม อาทิ เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ต้องการการยกระดับพัฒนาทักษะ เสริมขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อก้าวไปสู่เศรษฐกิจในเชิงมูลค่า

ภาคอุตสาหรรมของไทยขาดการพัฒนามายาวนาน จึงมีความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่านจากภาคการผลิต แรงงาน และใช้เครื่องจักรไปสู่ การใช้เทคโนโลยี และทักษะสูง ทำให้ประเทศไทยยังมีปัญหาในเชิงโครงสร้างสะสมในยาวนานกว่า 2-3 ทศวรรษ จากการขาดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ที่เป็นสาขาสำคัญเข้ามาขับเคลื่่อนอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐฏิจ (จีดีพี)

ภายในงาน “RESHAPING THAILAND A SUSTAINABLE FUTURE” เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องแก้ไขเพื่อพลิกเศรษฐกิจไทยก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน ในหัวข้อการเสวนา กับองค์กรที่มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), หอการค้าไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

 

 


61% อุตสาหกรรม ติดกับดัก 2.0
หวังยกระดับสู่ 4.0

ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัญหาของอุตสาหกรรมคือด้านโครงสร้าง ประเทศไทยถือว่าเดินหน้าช้ากว่าประเทศอื่นในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ยุค 4.0 ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ 2.0 ที่ยังใช้เครื่องจักรและแรงงานในการผลิต สัดส่วนถึง 61.% ขณะที่อุตสาหกรรม3.0 เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาดัดแปลงการผลิตมีสัดส่วน 28% ส่วนอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการเชื่อมกับอินเทอร์เน็ต (IoT) รวมไปถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีสัดส่วนเพียง 2%

“อุตสาหกรรมในประเทศยังอยู่ในอุตฯ 2.0 สัดส่วนถึง 61% ไทยเดินช้ากว่าคนอื่น การจะเดินสู่ อุตฯ 4.0 ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการเปลี่ยนเทคโนโลยี เครื่องจักรใหม่ ที่จะต้องมีการลงทุนพัฒนาปรับปรุง ไม่สามารถเปลี่ยได้ในข้ามวัน แต่จะต้องมีการใช้เวลาทดสอบความผิดพลาด จึะต้องมีการพัฒนาสร้างขึ้นมาใหม่ ให้เหมาะสม แทนการดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ นี่คือปัญหาที่จะต้องสู้ และพัฒนา ”

ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า
โครงสร้างพื้นฐานและขีดแข่งขัน

ท่ามกลางปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของทั้งโลกที่ไทยกำลังเผชิญจากปัจจัยเสี่ยงนอกประเทศทั่วโกล อาทิ ปัญหาภาวะโลกร้อน และการเมืองโลก การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมยังมีความท้าทายในภาคที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทั้งในเชิงโครงสร้าง และขีดความสามารถการแข่งขันภายใน ประกอบด้วย ภัยธรรมชาติ จากสภาพอกาศแปรปรวน ทำให้ภาคอุตสาหกรม ต้องมีการปรับตัวไปสู่การทำธุรกิจลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สังคมผู้สูงอายุ กับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่พูดมาเกือบ 20 ปี แต่ยังไม่สามารถยกระดับได้ เพราะการเติบโตจีดีพี เพิ่มเล็กน้อย จึงต้องหาทางเติบโตก้าวกระโดดในช่วง 5-10 ปี ข้างหน้า ท่ามกลาง มีปัญหา หนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือน ตลอดจน ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและการคอรัปชั่น

6 ความท้าทาย
จุดอ่อนขีดแข่งขันอุตฯ ไทย

สภาอุตฯ จะเข้าไปมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มีโอกาสในการยกระดับการแข่งขัน เพื่อก้าวไปสู่การเติบโตใหม่ โดยเข้าไปปลดล็อกปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยมีดังนี้ คือ

1.กฎหมายที่ล้าสมัยเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนการทำธุรกิจและการลงทุนทำให้เพิ่มต้นทุนสูง เช่น การนำเข้าและส่งออก
2.ต้นทุนพลังงานที่สูง
3.ขาดแคนลแรงงาน เพราะเป็นอาชีพที่คนไทยมีไม่ทำ
4.ขาดแคลนเทคโนโลยี
5.ต้นทุนโลจิสติกส์สูง
6.ค่าเงินบาทผันผวน และดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้น

เชื่อมอุตสาหกรรมดั้งเดิม
ต่อยอด11 คลัสเตอร์ เติบโตรับโลกยุคใหม่

ทั้งนี้แบ่งอุตสาหกรรมที่มีท้าทายเป็นสองกลุ่ม คือ อุตสาหกรรมเริ่มต้นที่เติบโตมาจากอดีต ที่มีขีดความสามารถการแข่งขัน (First Industries) และอุตสาหกรมที่เป็นไทยจะเติบโตในยุคต่อไป (Next Industries)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีขีดความสามรรถการแข่งขัน มี 11 คลัสเตอร์ ที่ต้องพัฒนา ดังนี้

-จาก รับจ้างผลิต (OEM) สู่ สู่การพัฒนาการออกแบบ (ODM) และพัฒนาแบรนด์ (OBM)
-เปลี่ยนจากการใช้แรงงาน สู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ (Automation)
-เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อกำไร สู่การผลิตเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม
-เปลี่ยนจากแรงงานขาดทักษะ สู่แรงงาน ทักษะชั้นสูง

BCG หัวใจเติบโตจากฐานรากเข้มแข็ง

ส่วนอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต จะเป็นโอกาสสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต คือเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) -เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐาน มีความเข้มแข็ง อาทิ เกษตร อาหาร และสุขภาพ จึงต้องมีการต่อยอดยกระดับเกษตรครบวงจร ด้วย Agro-Industry, SAI} มีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่า ส่งเสริมทำให้ตลาดเพิ่มความต้องการ รวมไปถึงยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไปสู่ เศรษฐกิจสีเขียว

 

 

3 กลยุทธ์ เคลื่อนไทยโตยั่งยืน

ขณะที่อุตสาหกรรม เอสเคิร์ฟ อุตสาหกรรมใหม่ที่มีโอกาสสร้างการเติบโต ประกอบด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล รถยนต์ไฟฟ้า เกษตรสมัยใหม่ รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่จะต้องมีการพัฒนาดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายตลอดซัพพลายเชน, ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี, พัฒนาคนรองรับ และการเชื่อมโยงซัพพลายเชนเข้ากับอุตสาหกรรมพื้นฐานของไทย (First Industries)

“การพัฒนาอุตสาหกรรมนิวเจน จะมีการเชื่อมต่อระหว่าง การยกระดับขีดความสามารถ และการขับเคลื่อนจีดีพีสูงขึ้น เพื่อมุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จึงต้องมุ่งเน้นที่การปฏิรูปกฎหมาย การศึกษา การพัฒนาทักษะคน เทคโนโลยีและนวัตกรรม “

สำหรับเป้าหมาย ที่สภาอุตฯ ได้วางแผนคือ 1.การขับเคลื่อนขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ 2.ให้เกิดการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีพีพี) ไม่ต่ำกว่า 5 %ต่อปี และ 3. เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ตลอดจนมุ่งดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น

8 แนวทางยกระดับอุตฯไทยสู่ New Green Growth

ทั้งนี้ สภาอุตฯ ได้นำเสนอแนวทางการการยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้กับภาครัฐไปแล้ว เพื่อบรรลุ 3 เป้าหมายจึงต้องวาง 8 แนวทาง ประกอบด้วย

1.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจและการลงทุน เพื่อเพิ่มการเติบโต เศรษฐกิจ 5% ต่อปี
2.พัฒนาบุคลากร เพิ่มทักษะแรงงาน และแก้ไขกฎหมายด้านแรงานไทย
3.การบริหารจัดการพลังงานทั้งระบบให้รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด
4.ส่งเสริมการส่งเออก การค้า และสนับสุนการลงทุนที่พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ New S-Curve
5.ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
6.พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ และมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero
7.ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs
8.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน การกระจายสินค้า (Logistics ) และพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม

“เราต้องยอมรับว่าการพัฒนาเราขยับช้าในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ใช้พลังงานสะอาด และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อนาคตอาจจะแก้ไขให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้นจากทั่วโลกกำหนดไว้ 2050 ไทยปรับเป็น 2045 ได้ไหม เพราะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะถือเป็นแต้มต่อสำคัญในการลงทุน สร้างโอกาสในการขายสินค้าได้ดีขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่บริษัทไทยมีองค์กรต้นแบบในการยกระดับพัฒนาธุรกิจให้มีมาตรฐานเป็นเมิตรกับสิงแวดล้อม จะเห็นได้จากโรงงานที่ขึ้นทะเบียนสินค้าด้านสิ่งแวดล้อม กว่า 3,246 ราย และมีโรงงานด้านเป็นมิตากับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองแล้ว 380 แห่ง รวมไปถึง มีเมืองอุตสาหกรรมนิเวศกระจายตัวครอบคลุมใน 39 จังหวัด 54 พื้นที่

 

 

หอการค้าฯ เสนอ ลงทุนวิจัยนวัตกรรม

ส่งเสริมท่องเมืองรอง ปลุกซอฟต์พาวเวอร์ไทย

ทางด้าน นายประวิทย์ ประกฤตศรี รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเขื่อมั่นของผู้ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความคึกคักในช่วงตรุษจีนทีมีการเปิดฟรีวีซ่า รวมไปถึง ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทุกตัว ตลอดจนภัยแล้งไม่หนักอย่างที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นสิ่งที่จะต้องผลักดันเพื่อให้เกิดการเติบโตในการกระจายรายได้คือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองและเชื่อมโยงกับการวางกลยุทธ์ การผลักดันด้านซอฟต์พาวเวอร์ (พลังอ่อนนุ่ม) ของไทยที่จะเชิดชูภาพลักษณ์ความเป็นไทยให้โดดเด่นในสายตาคนทั่วโลก จะช่วยสร้างโอกาสให้กับภาคธุรกิจบริการ

สิ่งสำคัญที่จะพลิกโฉมประเทศไปสู่โอกาสใหม่ๆ จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างทางการเกษตร ฟื้นฟูระบบดิน โดยใช้ถั่วเหลือง รวมถึงการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนายกระดับคนไทยไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยี มีการสร้างแบรนด์ และเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงด้านการวิจัยพัฒนา คือสิ่งสำคัญที่จะยกระดับไทยจากการปรับจ้างผลิตไปสู่การเป็นเจ้าของแบรนด์ และเทคโนโลยี ดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะวิธีคิดแบบมองเป็นองค์รวม”

 

 

 

 

บีโอไอ เผย 3-5 ปี จากนี้

จุดพลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ในช่วง 3-5 ปีต่อจากนี้ถือเป็นช่วงพลิกโฉมทิศทางการลงทุนและเศรษฐกิจประเทศไทยครั้งสำคัญไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง หลังจากที่ไม่่มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายทศวรรษ หลังจากผ่านความวุ่นวายในหลากหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV)การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) และ เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการการใช้หุ่นยนต์ และการผลิตอัตโนมัติ ( Automation) รวมไปถึง เทคโนโลยีชีวภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะขับเคลื่อนไทยไปสู่ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

“นี่คือโอกาสทองของประเทศไทย จากนี้ต่อไปใน 3-5 ปีข้างหน้า ไทยจะเปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ถือเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (Re shape) ประเทศไทยจริง ในการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่หลังจากอยู่แบบเดิมมาหลายสิบปี เริ่มมีทิศทางชัดเจนทางด้าน รถยนต์ไฟฟ้า (EV) การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) และ เทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์และการผลิตอัตโนมัติ ( Automation) รวมไปถึง เทคโนโลยีชีวภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดเริ่มเกิดการลงทุนชัดเจนในไทย”

ลงทุนใหม่ ปี 66 ทะลุ 8 แสนล้าน
สูงเป็นประวัติการณ์

ภาพรวมของการรับการส่งเริมการลงทุนในปี 2566 ที่ผ่านมาถือเป็นมูลค่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 43% และมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่า 6.22 แสนล้านบาท สัดส่วน 73% ของการลงทุนทั้งหมด

“แต้มต่อสำคัญที่นักลงทุนเลือกไทยในการลงทุน เพราะไทยไม่เป็นประเทศคู่ขัดแย้งกับใคร และมีความสัมพันธ์ดีกับทุกประเทศ จึงทำให้ในช่วงที่มีกประเด็นสงครามการค้า นักลงทุนมีการปรับโครสร้างการหาแหล่งผลิตใหม่ จึงเข้ามาในไทย ไทยพร้อมมีศักยภาพทางด้านพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ซัพพลายเชนครบวงจร”

10 สาขาเป้าหมาย นิวเอสเคิร์ฟไทย

ทั้งนี้ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 สาขา ประกอบด้วย 1. เครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่า 3.42 แสนล้านบาท จำนวน 265 โครงการ 2. ยานยนต์ มูลค่า 8.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 217 โครงการ 3. เกษตรและแปรรูปอาหาร มูลค่า 7.4 หมื่นล้านบาท จำนวน 296 โครงการ 4.ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มูลค่า 4.5 หมื่นล้านบาท จำนวน 143 โครงการ และการท่องเที่ยว มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท จำนวน 13 โครงการ 6.เทคโนโลยีชีวภาพ มูลค่า 3.1 หมื่นล้านบาท จำนวน 24 โครงการ 7. การแพทย์ มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท จำนวน 63 โครงการ 8.ดิจิทัล 9.5 พันล้านบาท จำนวน 132 โครงการ 9.ระบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 1.9 พันล้านบาท จำนวน 17 โครงการ และอากาศยาน 1.2 พันล้านบาท จำนนวน 6 โครงการ

ทั้งนี้คาดว่ายอดขอรับการส่งเสริมจะมีการ่ลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 90% ซึ่งจะเกิดขึ้นชัดเจนภายใน 1-2 ปีข้างหน้า หลังจากมีการจัดตั้งโรงงานและมีการเดินเครื่องการผลิต

3 สาขา อิเล็กฯ- ยานยนต์-ดิจิทัล
พลิกไทยจ่าฝูงอาเซียน

สำหรับอุตสาหกรรมที่จะผลักดันให้ไทยพลิกสู่ผุ้นำอาเซียน ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้มีการโอกาสเข้ามาลงทุน ประกอบด้วย

-ชิ้นส่วนและอิเล็กทรอนิกส์ มีการเข้ามาส่งเสริมมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท อาทิ การผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Print Circuit Board : PCB) ไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ 1ใน 3 ของโลก และใหญ่ที่สุดในอาเซียน

-อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีการขยายการลงทุนไม่ใช่เพียงการประกอบชิ้นส่วน แต่เป็นซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี และชิ้นส่วนอื่น ๆ ทำให้มีค่ายรถยนตฺ์ไฟฟ้าลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น มีค่ายรถยนต์เข้ามาลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ค่าย เช่น ฉางอัน (Changan), ไอออน ไอออน (AION), โฟตอน (Foton) และ บีเอ็มดับเบิ้ลยู (BMW)

-อุตสาหกรรมดิจิทัล ไทยก้าวเป็นผู้นำ โดยที่ทั้งอเมซอนก็ตัดสินใจลงทุน 1.5 แสนล้านบาท ในการพัฒนาศูนย์ข้อมูล (DATA Center) ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี กำลังเชิญ กูเกิล และไมโตรซอฟต์มาลงทุนในไทย

“สาขาเป้าหมายของไทยด้านรถยนต์ เรามั่นใจเราเป็นเบอร์หนึ่งในภูมิภาค เบอร์ต้นๆ ของโลก เพราะมีการส่งเสริมด้านการการผลิตและการตลาดในการเปลี่ยนผ่านการใช้รถยนต์ไฟฟ้าชัดเจน จึงดึงดูดการลงทุน รวมถึงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ไทยเป็นศูนย์กลางและผู้นำการผลิต แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) รวมไปถึงอุตสาหกรรมดิจิทัล”

10 กลยุทธ์ ปลุกไทย เสืออาเซียน

สำหรับยุทธศาสตร์ ของบีโอไอ ภายใน 5 ปีข้างหน้าจะมุ่งเน้นการขับการลงทุนในอุตสาหกรรมหลัก ที่เป็นจุดแข็งและโอกาสในการยกระดับขีดความสามารถแข่งขัน ดังนี้คือ

1.อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจBCG เพราะเป็นจุดแข็งและพื้นฐานของประเทศไทย ที่จะต่อยอดไปสู่โอกาสอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย เกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด
2.ยานยนต์และชิ้นส่วนไฟฟ้า
3.อิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะ ยกระดับการผลิตไปสู่ต้นทุน
4.เทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
5.การผลักดันให้ไทยเป็น ศูนย์กลางการตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาค

ขณะเดียวกันยังสร้างโอกาสในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นโอกาสของประเทศไทยในเศรษฐกิจอนาคต ประกอบด้วย

1.เปลี่ยนผ่านไปสู่ เศรษฐกิจสีเขียว
2.การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ที่ไม่ใช่เพียงแต่ผลิต แต่ยังมีการวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรม
3.ดึงคนมีทักษะสูง ในสาขาต่าง ๆ เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้
4.ลงทุนในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของประเทศ (Cluster Based Investment)
5.การอำนวยความสะดวกในด้านการลงทุนให้รวดเร็ว และคล่องตัว