‘เทพรัตน์’ ‘ขุนศึก’ EGCO ปิดดีล 3 โรงไฟฟ้าอนาคต สู่’แม่ทัพ’ กฟผ.คนที่16 ยุคพลังงานสะอาด

by ESGuniverse, 4 มีนาคม 2567

ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ EGCO ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16

 

 

ในปัจจุบัน “พลังงานสะอาด” ถือเป็นเข้มทิศที่ทุกประเทศทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลง ลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะฟอสซิล เพราะเป็นปัจจัยปล่ยมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น

ทุกองค์กรที่อยู่ในกลุ่มพลังงาน จึงต้องวางยุทธศาสตร์เปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด พร้อมกันกับการเติบโต เช่นเดียวกันกับ กฟผ. ภาคการผลิตแสวงหาพลังงานของไทย ได้วางเป้าหมายให้เติบโตยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแนวทางของ SDGs (Sustainable Development Goals: SDGs) คือการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด โดยการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ให้ราคาถูกคนเข้าถึงได้

โดยนโยบาย รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดให้มากกว่า 50% ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) ในระยะสั้น จะมีสัดส่วนพลังงานสะอาด 30% ในปี 2030 (พ.ศ. 2573)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) (3 มีนาคม 2567) จึงมีวาระพิเศษ มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. แทนนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566

 

 

สำหรับประวัติ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16 เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2508 ปัจจุบันอายุ 58 ปี เส้นทางการทำงานที่ผ่านมา เป็นผู้ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดในสายงานธุรกิจลูกของกฟผ.มาโดยตลอด ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

-ปี 2560 - 2561 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่
-ปี 2561 - 2563 ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน
-ปี 2563 - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่

ผลงานสำคัญในปีที่ผ่านมา คือการเป็นผู้ลงทุนที่สำคัญก้าวไปปักธงถึงสหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย ผ่านการเข้าควบซื้อและควบรวมกิจการ (M&A)ในกลุ่มพลังานสะอาด ที่จะเป็นอนาคตต่อยอดสร้างโอกาสการพัฒนาพลังงานสะอาดทั้งต่างประเทศ และในไทย ประกอบด้วย 3 ธุรกิจ

1.การซื้อหุ้น 49% ในโรงไฟฟ้า RISEC กำลังผลิต 609 เมกะวัตต์ ในสหรัฐอเมริกา

2.การซื้อหุ้น 50% ในกลุ่มโรงไฟฟ้า Compass กำลังผลิตรวม 1,304 เมกะวัตต์ ในสหรัฐอเมริกา

3.การซื้อหุ้น 30% ใน CDI เพื่อขยายสู่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ในอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของโครงการ Yunlin ในไต้หวัน และการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของโครงการพลังงานหมุนเวียนภายใต้ APEX ในสหรัฐอเมริกา

“EGCO Group สามารถปิดดีลการลงทุนได้ 3 โครงการ ทั้งโครงการในสหรัฐอเมริกาและในอินโดนีเซีย ท่ามกลางปัจจัยที่ท้าทาย จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด กดดันราคาพลังงาน การปิดดีลจึงถือเป็นการเลือกลงทุนในโครงการที่มีคุณภาพสูง ผ่านรูปแบบM&A เพื่อรับรู้รายได้ทันที”

นี่คือผลงานและจุดเปลี่ยนสำคัญทำให้EGCO ทะยานเป็นนักลงทุนที่ได้เข้าไปปักธงสหรัฐ

 

 

วิศวกรรมเครื่องกล สู่ MD กฟผ.

สำหรับประวัติการศึกษา เทพรัตน์ เทพพิทักษ์
-จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สาขา Electricity Industry Management and Technology มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (University of Strathclyde) สหราชอาณาจักร
-ผ่านการอบรมในหลักสูตรสำคัญมากมาย อาทิ หลักสูตร Advanced Management Program จาก Harvard Business School สหรัฐอเมริกา หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
-หลักสูตร Senior Executive Program จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
-หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน จากสถาบันวิทยาการพลังงาน
-หลักสูตรผู้นำผู้สร้างแรงบันดาลใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง จากสถาบันพระปกเกล้า