วิกฤตทั่วโลกเผชิญฤดูผันแปร ‘กุมภา เมืองหนาว อากาศอุ่น’ ใบไม้ผลิมาเยือนก่อนเวลา

by วันทนา อรรถสถาวร , ประกายดาว แบ่งสันเทียะ, 10 มีนาคม 2567

กุมภา อากาศเมืองหิมะเพี้ยนทั่วโลก เมื่อองศาคล้ายฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้บานยามเช้าจากญี่ปุ่นถึงแมกซิโก

 

 ปกติเดือนกุมภาพันธ์ยังเป็นเดือนแห่งฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุม แต่ปรากฏว่าในปีนี้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 1.46 องศาฟาเรนไฮต์ (-1.7 องศาเซลเซียส) แค่อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อยกว่าปี 2016 (พ.ศ. 2559) ประมาณ 0.2 องศา ก็ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมชัดเจน หลายภูมิภาคทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ใน ญี่ปุ่น แม็กซิโก อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ถึง 38 องศาฟาเรนไฮต์ (3.33 องศาเซลเซียส)

 

 

 

รังสีความร้อนแผ่อิทธิพลทั่วท้องทะเล และผืนดิน

ในเดือนกุมภาพันธ์นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เดือนกุมภาพันธ์มีอากาศที่อุ่นขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 แผ่ปกคลุมกระจายไปทั่วทุกมหาสมุทรของโลก

องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) ระบุว่าพื้นที่ในมหาสมุทรร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการเก็บข้อมูลยาวข้ามปี พบเดือนกุมภาพันธ์อุณหภูมิสูงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566

แนวมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออก เขตร้อน และทางตอนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกใกล้กับเอเชีย และมหาสมุทรอินเดีย มีอากาศอบอุ่นเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์

ไบรอัน แมคโนลดี้ (Brian McNoldy) นักวิทยาศาสตร์เขตร้อนจากมหาวิทยาลัยไมอามี ยืนยันถึง อุณหภูมิที่สูงขึ้น ในทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งไม่เพียงแต่อบอุ่นเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังอุ่นกว่าเดือนมีนาคมของปีที่ผ่านมา(พ.ศ.2566) อีกด้วย

 

 

 

นอกจากทะเลอุ่นขึ้น พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกก็เพิ่มสูงขึ้นในทุกทวีป ยุโรป สหรัฐอเมริกา ทวีปแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ แอฟริกาตอนใต้ ออสเตรเลียตะวันตก อาร์กติก

รวมถึงพื้นที่หนาวเย็นกว่าปกติ เช่น รัสเซีย จีน มองโกเลีย ก็อุ่นขึ้นเช่นกัน

การสำรวจล่าสุดพื้นที่หนาวเย็นในสหรัฐอเมริกาอุณหภูมิสูงกว่าปกติถึง 40 องศาฟาเรนไฮต์ (4.4 องศาเซนเซียส) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเมืองคิลลีน รัฐเท็กซัส ทำสถิติสูงสุดที่ 38 องศาเซลเซียส

 

ฤดูใบไม้ผลิมาเยือนเร็วก่อนเวลา

"ฤดูใบไม้ผลิจะมาถึงเร็วกว่าปกติ"

ตามที่ คาริน กลีสัน (Karin Gleason) นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศของ NOAA กล่าวว่า ต้นมีนาคมที่ผ่านมา พบต้นไม้ผลิใบ และดอกไม้เริ่มบานในหลายแห่ง อาทิ นอร์ธแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา และ โตเกียวในญี่ปุุ่น รวมถึงเม็กซิโก

“เมื่อปลายกุมภาพันธ์ทางตะวันออกของนอร์ธแคโรไลนา ผมเห็นต้นไม้บางต้นเริ่มผลิใบ นี่เป็นกุมภาพันธ์ที่สภาพแวดล้อมดูแปลกตา คล้ายสัญญาณของฤดูใบใม้ผลิในเยือนเร็วก่อนเวลา”

ดอกซากุระ ชูช่อ ก่อนมีนา

เช่นเดียวกันกับ ความตื่นเต้นของผู้คนในโตเกียวต่างถ่ายภาพซากุระสีชมพู และต้นศรีตรัง ( jacaranda trees) ที่แข่งกันอวดสีสันสดใสในเดือนแห่งรัก แทนที่เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นฤดูออก ดอกสวยงามทุกปี

เมื่อหิมะในยุโรปละลายในเดือนนี้ ลานสกีในบอสเนีย กลายเป็นโคลนไม่สามารถใช้งาน ได้

ฝั่งอิตาลี รีสอร์ทแห่งหนึ่งเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการเดินป่าและปั่นจักรยาน

 

 

 

ซากุระ ผลิบานในรอบ 6 ศตวรรษ
สัญาณเตือน ฤดูกาลแปรปรวน

ดอกไม้แต่ละชนิดจะบานได้มีปัจจัยที่แตกต่างกัน ความสมบูรณ์ของดิน น้ำเพียงพอและอากาศที่เหมาะสม มีผลต่อการเติบโตงอกงาม

ในซีกโลกดินแดนหิมะตกมี 4 ฤดู ฤดูดอกไม้ผลิ เริ่มต้นเดือนเมษายน แต่กุมภาพันธ์ปีนี้พบดอกไม้บานเร็วกว่าปกติในหลายพื้นที่

เช่น ดอกซากุระ หรือ "ฮานามิ" ของญี่ปุ่น จะบานในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน

บันทึกโบราณและเอกสารในราชสำนักญี่ปุ่น มีบันทึกเทศกาลจัดงานซากุระไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 812 บอกวันที่ซากุระบานเต็มที่ในแต่ละปี

บันทึกระบุว่า สถิติบานเร็วที่สุดของดอกซากุระ เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ.1409 หรือกว่า 6 ศตวรรษก่อน

ดร. ไมเคิล อี. มานน์ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศชาวอเมริกัน กล่าวว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

ความร้อนที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ อุ่นมากกว่าปกติ เหตุเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกจากปรากฏการณ์เอลนิโญ

ชั้วโลกระส่ำ ธารน้ำแข็งละลาย หนุนระดับน้ำทะเลสูงขึ้น


อันเดอร์ส เลเวอร์มันน์ (Anders Levermann) นักฟิสิกส์จากสถาบันพอทสดัมเพื่อการวิจัยผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ (Potsdam Institute for Climate Impact Research) กล่าวว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อนสร้างความเสียหายต่อโลก ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และทำให้เกิดสภาพอากาศเพี้ยนสุดขั้ว

เจน บอลด์วิน นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ กล่าวว่า อุณหภูมิสูงทำลายสถิติเช่นนี้ กำลังเกิดขึ้นในซีกโลกใต้ และ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากความร้อนพุ่งสูงขึ้น

“ความร้อนเป็นฆาตกรเงียบที่สำคัญมาก” เธอกล่าว

คลื่นความร้อนส่งผลกระทบต่ออาร์เจนตินาเปรู บราซิล และชิลีในเดือนนี้ อากาศที่ร้อนและแห้ง ทำให้เกิดไฟป่าใกล้ซานติอาโก คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 133 ราย

ทั้งนี้ NOAA คาดการณ์ว่ามีโอกาส 22% ที่ปี 2024 (พ.ศ. 2567) องศาร้อนจะทำลายสถิติปี 2023 (พ.ศ. 2566) นับได้ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์อีกปีหนึ่ง

2024 เอลนีโญแกร่งขึ้นจนยากรับมือ

ปี 2024 เอลนีโญที่แข็งแกร่งก่อตัวขึ้นองศาร้อนโลกพุ่งไม่หยุด ต้องจับตาดูว่าจะสร้างสถิติใหม่หรือไม่ในช่วงฤดูร้อนนี้ ก่อนจะสลายตัวไปในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน

Adam Scaife จากสำนักงาน Met ของสหราชอาณาจักร กล่าวว่า
ผลกระทบหลักของเอลนีโญต่ออุณหภูมิของโลก จะเกิดขึ้นในปี 2024 ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มอุณหภูมิสูงมาก คาดว่าจะทำลายสถิติที่ผ่านมา


อ้างอิง https://www.reuters.com/business/environment/spring-came-early-february-likely-warmest-record-amid-climate-change-2024-02-29/
https://weather.com/news/climate/news/2024-03-04-record-warmest-february-earth-2024
https://www.bbc.com/thai/international-56577737
https://www.indiatoday.in/environment/story/spring-came-early-in-2024-how-climate-change-is-shaping-global-weather-2508708-2024-02-29
https://weather.com/news/climate/news/2024-01-18-el-nino-spring-temperatures-precipitation-us