ธุรกิจใหญ่ สู่เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ ทุนนิยมสานสังคม ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

by ประกายดาว. แบ่งสันเทียะ, 13 มีนาคม 2567

 ธุรกิจใหญ่ เริ่มเห็นปลายทางตัน มหันตภัยโลกรวน ทุนนิยม หัวหัวเรือ กลับทิศ สู่ทุนน้ำดี รับใช้สังคมเป็นสุข สานพลังช่วยธุรกิจเล็กเปลี่ยนผ่าน -คืนความมั่งคั่งสู่ทรัพยากร


ความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่บริษัทใหญ่ หรือ เล็ก แต่เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่เพียงระดับประเทศ แต่เป็นระดับภูมิภาค จะต้องสร้างแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางสัญญาประชาคมโลก เพื่อบรรลุเป้าหมาย การเปลี่ยนผ่านไปสู่การลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ( Net Zero)ในปี 2593 สร้างโอกาสตลาดคาร์บอนในระดับภูมิภาค เชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทาน และการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนกัน กลับมาคำนึงถึงการพัฒนาที่ช่วยสร้างความเป็นธรรม เท่าเทียม เพื่อความยั่งยืนของสังคม ช่วยกันออกแบบอนาคตของการเดินทางและการขนส่งอย่างยั่งยืน ตลอดเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก

ทั้งหมด ถือ เป็นภารกิจการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนอย่างเร่งด่วน ในฐานะของเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการจะต้องเตรียม การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร

 

 

 

ภายในงานสัมมนา “The 3rd annual Sustainability Week Asia” เดินหน้าสู่สัปดาห์แห่งความยั่งยืน งานสัมนาเพื่อหาทางออกให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยการอภิปรายเชิงลึก อภิปรายโต๊ะกลม และบรรยายโอกาสที่จะช่วยพัฒนาให้ธุรกิจเดินหน้าสู่ความยั่งยืน สนับสนุนการยกระดับการสร้างธุรกิจเพื่อผลลัพธ์อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง

บัวหลวง สะพานก้าวสู่เศรษฐกิจโลกใหม่
ทุนนิยมทำงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวในหัวข้อ แนวทางการรับมือกับความไม่แน่นอนในโลกหลายขั้ว ลดผลกระทบทางการค้าและเทคโนโลยี (Navigating uncertainty in a multipolar world: mitigating the effect on trade and technology) กล่าวว่า ภาพรวมเป้าหมายการช่วยกันขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ประเทศไทยจะต้องสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน สร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ เปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ เศรษฐกิจในโลกใหม่ ทำให้ทุนนิยมทำงานเพื่อสังคมและชุมชน โดยมีเป้าหมาย การเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ.2593 และเป็นคาร์บอนเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ.2603 โดยมีเป้าหมายระยะสั้น ที่จะลดคาร์บอน 20-40 %ในปี พ.ศ.2573
ทั้งนี้ จะต้องมีการปรับโครงสร้างพลังงาน ไปสู่ การใช้พลังงานหมุนเวียน และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถไฟฟ้า (EV) มีการปรับปรุงระบบนิเวศ รวมถึงการระดมทุนในการสนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว มูลค่า 12,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

 

“การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว จะช่วยลดผลกระทบของสภาวะโลกร้อน ธนาคารจึงต้องให้การสนับสนุนด้านการเงิน ทำให้ประเทศไทยกลับมาเป็นประเทศที่แข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่งได้ ตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเดินหน้าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างกลัง ส่งไม้ต่อให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนต่อไปในทุกๆ แง่มุมของธุรกิจ”


3 บทบาท ที่พึ่งเปลี่ยนผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน

กลุ่ม ธนาคารมีส่วนสำคัญในการก้าวไปสู่ Net Zero ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทขนาดใหญ่ในการกำหนดเป้าหมายการรักษาสมดุลระหว่างความยั่งยืน และผลกำไร โดยไม่ทิ้งบริษัทขนาดเล็ก เป็นสิ่งที่ท้าทายในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องมีการให้แรงจูงใจ ธุรกิจขนาดเล็กให้เปลี่ยนผ่านสู่แนวทางการพัฒนาธุรกิจยั่งยืนได้

สำหรับแนวทางที่ดำเนินการ มี 3 ด้าน

     1. ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและวิธีปฏิบัติด้านความยั่งยืนระดับโลก เช่น มาตรการต่างๆ ที่เป็นข้อปฏิบัติในการทำการค้าระหว่างประเทศ พร้อมกับอธิบายถึงความแตกต่างสร้างบทเรียน ค้นพบแนวทางบรรลุเป้าหมาย

     2. การจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในการกระบวนการผลิต ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด โดยสนับสนุนเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ การบำบัดของเสีย และนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างความยั่งยืน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

     3 การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้ลูกค้า เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านการพัฒนายั่งยืน เข้าไปสนับสนุนโครงการ
การเปลี่ยนผ่านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การปรับปรุงการใช้พลังงานทดแทน หรือ นำเชื้อเพลิงชีวภาพ ตลอดจน ตราสารหนี้สีเขียว การจัดทำดัชนีตราสารหนี้ในความยั่งยืน ซึ่งธนาคารถือเป็นผู้นำในด้านนี้มาเป็นเวลา 4 ปี
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพ ได้วางกรอบการทำงาน ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ ESG ร่วมกันในปี 2022

“การขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารมุ่งมั่นเป็นผู้คิดริเริ่ม สร้างความแตกต่างในแต่ละอุตสาหกรรม โดยการเข้าไปสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน ลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่ง การผลิต เกษตรกรรม การก่อสร้าง และการรีไซเคิลขยะ โดยสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและเงินทุนเข้ามาช่วยในการปรับตัว เปลี่ยนผ่าน เช่นการเข้าไปสนับสนุน จังหวัดสระบุรีจะกลายมาเป็นเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรก”

ESG จะเป็นหลักการทำธุรกิจที่สร้างโอกาสในการป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของโลก ทั้งปัญหาการเมือง ข้อพิพาทระหว่างรัสเซีย และยูเครน ช่วยทำให้เกิดการลงทุนใหม่ เข้ามาสู่ประเทศในอาเซียน

ดังนั้นสิ่งแรกทึ่เริ่มต้นไปสู่ความยั่งยืนคือการออกแบบนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางความยั่งยืนของโลก ตลอดจนปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการเปลี่ยนแปลงตลาดไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว ถือเป็นเรื่องยากและมีความท้าทายในการเผชิญกับการอุปสรรคจากพฤติกรรมและตลาดเดิม

 

 

 

ค้นเส้นทางใหม่ธุรกิจ
ทุนฟื้นฟูโครงสร้าง สุขภาวะสังคม

ปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ หรือ BRANDi กล่าวว่า เราไม่สามารถดูแลต้นไม้ให้เติบโตยั่งยืนได้หากผืนดินที่เปรียบเหมือนเศรษฐกิจยังคงแห้งแล้ง และความพยายามด้านความยั่งยืนจะไม่ส่งผลกระทบใดๆหากสภาพเศรษฐกิจยังคงเป็นดั่งเช่นปัจจุบัน

เราจึงจำเป็นต้องค้นหาเส้นทางของธุรกิจใหม่ ด้วยการใช้ประโยชน์จากทุน (Capitalized) เช่น ความครอบคลุม (Inclusive), การมีสุขภาวะที่ดี (Social Well-being)และการฟื้นฟู (Regenerative) ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับการร่วมมือเพื่อเปลี่ยนแปลงของทุกคนในสังคม การฟื้นฟูเพื่ออนาคต (Regenerative Future) ก็จะสามารถเป็นไปได้ โดยนี่ไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใด แต่คือการเดินทางไปสู่เศรษฐกิจในโลกใหม่

ด้าน เวที เสวนา การบรรลุเป้าหมาย Net-Zero (Achieving net zero: matching ambition with action)เรื่องการเปลี่ยนนิยามใหม่จาก Net-Zero ไปสู่การเป็นสังคม Net Positive ตลอดจนการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว อุตสาหกรรมจะปรับตัวไปอย่างไรหลังการประชุม COP28

  


เอสซีจี ฉาย แนวคิด Net Zero
จากกระบวนการผลิต จนถึงสินค้าสีเขียว

ทางด้านธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของเอสซีจีคือการทำธุรกิจเติบโตควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอน ตั้งแต่การลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล ถ่านหินมาสู่ พลังชีวมวล รวมถึงการหาแนวทางนำพลังงานสะอาดมาใช้

การสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้มีความยั่งยืน มีความท้าทาย ของการปรับกระบวนการทำงานบูรณาการแนวคิด ความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินธุรกิจ และยังเต็มไปด้วยข้อมูลหลากหลายมิติ จากห่วงโซ่อุปทานทึีเกี่ยวข้อง ตลอดการสร้างคน ให้เกิดความเข้าใจและขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน


“ผู้คนมักคิดว่าซีเมนต์ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรม แล้วบริษัทจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร อย่างแรกคือหยุดการใช้ถ่านหิน เปลี่ยนเป็นพลังงานชีวมวล แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังถือว่าห่างไกลจาก Net Zero จึงต้องพัฒนาหลากหลายวิธี ทั้งผลิตภัณฑ์ ผลิตปูนคาบอนต่ำ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน มีการรีไซเคิล และใช้พลาสติกที่ทำจากพืช (Bio-Based) ทดแทน ผลิตภัณฑ์กรีนก็จะสามารถเติบโตได้ โดยใช้เทคโนโลยีมาเสริม”

ทั้งนี้ เทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนส่วนการลดคาร์บอน ในภูมิภาคนี้ เป็นโอกาสของประเทศไทย ใชัรากฐานจากเกษตรกรรม จึงมีวัตถุดิบมวลชีวภาพอยู่มาก สามารถนำเศษวัสดุที่เหลือจากภาคเกษตรมาใช้

นอกจากนี้ ยังพัฒนาเทคโนโลยีนำมาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ และพลาสติกใหม่เป็นแนวทางช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังต้องสร้างรายได้สู่ธุรกิจ มีส่วนทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีการเติบโตขึ้น 2 เท่าจากพลาสติก นี่คือกระบวนการ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยสร้างความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์

“เทคโนโลยีหลายอย่างสามารถนำมาใช้ร่วมกัน เพื่อเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน ในกระบวนการผลิต มีการใช้วัตถุดิบลดการปล่อยคาร์บอนในระยะยาว”

 

 

 

 นิสสันเผย 5 ปัจจัย อีวี เปลี่ยนตลาด

อิซาโอะ เซคิกุจิ ประธานนิสสัน ประเทศไทย กล่าวว่าประเทศไทยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการมุ่งสู่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions 2050) จะเป็นแรงขับเคลื่อนอีกให้กับผู้บริโภคในการเปลี่ยนไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้รวดเร็ว การเติบโตของธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า จะนำไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 โดยภาคอุตสาหกรรมก็จะปรับตัวตัวสร้างตลาดความยั่งยืน (Sustainability)

โดยการสร้างผลกำไรและความยั่งยืนต้องสมดุลกัน ผ่าน 5 ปัจจัย ประกอบด้วย

     1. ผลิตภัณฑ์ต้องลดการปล่อยคาร์บอน
     2. แหล่งพลังงานสะอาด
     3. กระบวนการผลิตต้องมีความยั่งยืน
     4.ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเข้ามาช่วยลดทางคาร์บอน
     5.พัฒนาระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องในทิศทางเดียวกัน ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องทำงานร่วมกัน ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ด้วยกลยุทธ์ 3R (Reduce: ลดการใช้, Reuse: นำ
กลับมาใช้ซ้ำ, Recycle: นำกลับมาใช้ใหม่)

“สิ่งจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจูงใจไม่ใช่เพียง แต่มีองค์ประกอบหลากหลายด้านในภาคยานยนต์ ทั้ง พัฒนาอยู่กับผลิตภัณฑ์เขัาไปช่วยตอบสนองความต้องการของตลาด ในช่วงเริ่มต้น จะต้องมีทางเลือก สองระบบ ทั้ง EV และ Hybrid ส่วนกานขยายตลาด จะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน ออกแบบมาตรการเพื่อบรรลุเป้าหมายใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า”

กรณีศึกษาของการเปลี่ยนแปลงตลาด ในช่วงที่ผ่านมา เกิดขึ้นทในตลาดรถอีวีที่ฮ่องกงได้เข้ามาตีตลาดชิงส่วนแบ่งกับทางประเทศญี่ปุ่น ในเมืองไทยจึงมีโอกาสเช่นเดียวกัน