จ๊าก...โขกค่ารถเมล์เพิ่ม !!!! 10 ข้อควรรู้ก่อนควักกระเป๋าจ่าย???

by ThaiQuote, 11 มกราคม 2561

มีประเด็นสำคัญขอแชร์ประสบการณ์กับแฟน ๆ Bee Voice กันอีกแล้วกับประเด็นเรื่องการขึ้นค่าโดยสารทั้งรถไฟ-ขสมก.ว่ามีความคิดเห็นประการใดต่อเรื่องดังกล่าวนี้ คิดว่าเหมาะสม หรือมีข้อเสนอแนะต่อเรื่องนี้อย่างไรกันบ้าง แต่ถ้าพิจารณาจากตามรายงานข่าวจะเห็นว่า ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องต่างประสานเสียงไปในทิศทางเดียวกันคือไฟเขียวให้มีการปรับขึ้นค่าโดยสารได้ ไม่ว่าจะเป็นนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมที่กำกับดูแล ,นายวีระพงษ์ วงแหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (สร.ขสมก) และ นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยให้เหตุผลว่าเพื่อหวังลดปัญหาการขาดทุนสะสมขององค์กร โดยรมช.คมนาคมระบุไว้ตอนหนึ่งถึงเหตุผลว่า  “ปัจจุบันรถไฟฟ้าค่าโดยสารขั้นต่ำ 15 บาท/ครั้ง ขณะที่นั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็อันตราย ค่าโดยสารรถไฟฟ้ามีการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อแต่ค่าโดยสารรถไฟของรฟท.เก็บเพียงสถานีละ 2 บาท ส่วนรถเมล์ขสมก.อยู่ที่ 6.50 บาท ผมมองว่ามันไม่ยุติธรรมสำหรับรฟท. และขสมก. เพราะไม่ได้ปรับราคามา 20-30 ปีแล้ว ตอนนี้รัฐบาลมีบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย (บัตรคนจน) ช่วยผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว หากปรับราคาค่าโดยสารก็ ต้องทำความเข้าใจกับสังคมถึงความจำเป็น” เช่นเดียวกับทางสร.ขสมกที่ระบุว่า จะเสนอให้ทยอยปรับขึ้นค่าโดยสารเพื่อไม่ให้กระทบประชาชนมากนัก เริ่มจากปรับราคาให้เท่ากับรถร่วมบริการของเอกชนคือ 8-9 บาทก่อนทยอยปรับขึ้นทีละ1-2 บาทจนไปจนถึงราคาต้นทุนที่ 15 บาท เช่นเดียวกับรถเมล์ปรับอากาศ ขณะที่รถเมล์เอ็นจีวีใหม่ 489 คันนั้น จะเสนอให้กำหนดราคาใกล้เคียงกับต้นทุนรถเมล์ปรับอากาศเริ่มที่ 15 บาท ขณะที่นายณัฐชาติ ระบุว่าการบริการขสมก. มีมาตรฐานและคุณภาพไม่แพ้รถร่วมบริการที่คิดค่าโดยสารรถเมล์ร้อน 9 บาท ดังนั้นหากทยอยปรับค่าโดยสารให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงจะทำให้สภาพคล่องขององค์กรดีขึ้นภายใน 3-5 ปี เห็นว่าการปรับค่าโดยสารในราคานี้เหมาะสมเป็นธรรม  และอยู่ในฐานที่ประชาชนรับได้ นอกจากนี้เมื่อรับรถเมล์ใหม่ 489 คันครบแล้ว ถือว่าขสมก.ได้เพิ่มคุณภาพบริการแล้วจึงถึงเวลาเหมาะสม และหากพิจารณาจากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าทุกอย่างดูสอดรับกันอย่างลงตัว  ทั้งข่าวการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นเมื่อฟังจากคนในรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ที่ระบุว่าปี 2561 จะปรับขึ้นอย่างแน่นอน แต่ต้องทำให้เกิดความสมดุลทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ต้องอยู่ได้ ยังไม่รวมถึงมาตรการในการให้ความช่วยเหลือต่อผู้มีรายได้น้อย ระยะที่ 2 รวม 34 โครงการ มูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ที่ออกมาในเวลาไล่เรี่ยกันจะด้วยเหตุบังเอิญหรืออะไรก็สุดแล้วแต่จะคิด                 แต่ถึงกระนั้นการปรับขึ้นค่าโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นรถขสมก.หรือรถไฟก็ดี นอกจากจะคำนึงถึงประชาชนแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงคือในเรื่องของมาตรฐานแห่งความปลอดภัยทั้งในเรื่องของรถโดยสารก็ดีหรือแม้แต่พนักงานขับรถ รวมถึงการให้บริการ ที่ต้องยอมรับว่า ณ ขณะนี้ยังไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าใดนัก เชื่อว่าเรื่องนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะรู้ดีกว่าใคร ๆทั้งหมด       และที่สำคัญเมื่อไปดูถึงสิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เครือข่ายลดอุบัติเหตุ ภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างไว้ซึ่งมีด้วยกัน 10ประการได้แก่
Tag :