เสนอ ครม. ลดภาษี SMEs ช่วยภาระค่าแรง

by ThaiQuote, 25 มกราคม 2561

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์มอบนโยบายแก่ธนาคารออมสินให้ความสำคัญกับคน 4 กลุ่มดังต่อไปนี้ที่เป็นกลุ่มทางยุทธศาสตร์ของประเทศประกอบด้วย 1.กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ดูแลพ่อค้า แม่ค้า ท่องเที่ยวชุมชน  2.กลุ่มชนชั้นกลาง เพื่อพัฒนาตนเองให้ขยับฐานะสูงขึ้น  3.กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อลดภาระการดูแลจากสังคม ให้มีที่อยู่อาศัย มีกิจกรรมทางสังคม  4.กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ  สร้างเครือข่ายให้นักศึกษา คนรุ่นใหม่  ก้าวเป็นผู้ประกอบการ ยอมรับว่าการปล่อยสินเชื่อให้รายย่อยของออมสินมียอดหนี้เสียน้อยมากเพียงร้อยละ 2.05  หากไม่เหตุจำเป็นรายย่อยส่วนใหญ่จะไม่เป็น NPL ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องมือติดตามดูแลให้ความรู้เพิ่มเติม  โดยธนาคารจะต้องปรับรูปแบบการทำงานในการให้สินเชื่อในรูปแบบใหม่ ต้องทำงานเป็นทีม มีการเชื่อมโยงกันทั้งภายในและภายนอก สร้างความรู้ สร้างโอกาส เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เข้าไปช่วยพัฒนา สร้างโอกาสของเขาก่อน ถึงค่อยให้สินเชื่อ และควรมีระบบติดตามที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที ยอมรับว่าการปล่อยสินเชื่อให้รายย่อยของออมสินมียอดหนี้เสียน้อยมากเพียงร้อยละ 2.05  หากไม่เหตุจำเป็นรายย่อยส่วนใหญ่จะไม่เป็น NPL ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องมือติดตามดูแลให้ความรู้เพิ่มเติม รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชน ทั้งแกนตั้ง Y และแนวนอน X เพื่อดูแลรายย่อย ให้ความรู้รายย่อยทั้งด้านการตลาด พัฒนาสินค้า พัฒนาสาธารณสุข การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้าขายออนไลน์  สำหรับส่วนกลางแกน Y สำนักงานใหญ่ต้องส่องกล้องจากด้านบนผ่านความร่วมมือหลายหน่วยงานรัฐจัดทำนโยบาย สร้างความเข้าใจผู้จัดการสาขา ทางด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า (30 ม.ค.) พิจารณาเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มียอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้าง ให้สามารถนำค่าใช้จ่ายจากค่าจ้างทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า จากเดิมนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนได้ 1 เท่า โดยมีผลในช่วงวันที่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.61 "เศรษฐกิจเริ่มดี ผู้ประกอบการก็มีรายได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว ต้องมีการกระจายรายได้ออกไปด้วย แรงงานก็ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี จากที่ผ่านมาในช่วง 4 ปี ค่าแรงเพิ่มขึ้นแค่ 4% หรือเฉลี่ยปีละ 1% ซึ่งถือว่าต่ำมาก" นายอภิศักดิ์ กล่าว กระทรวงการคลังเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระผู้ประกอบการ SMEs ได้มาก เพราะเป็นการนำค่าจ้างทั้งหมด มาคำนวณเป็นรายจ่าย ไม่ใช่เฉพาะค่าจ้างในส่วนที่ปรับเพิ่มขึ้นเหมือนมาตรการที่ผ่านมา เช่น หากมีการปรับขึ้นค่าแรงเพิ่ม 20 บาท ทำให้ค่าแรงต่อวันเพิ่มเป็น 320 บาท ก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหักลดหย่อนได้ทั้งหมด จากเดิมที่รัฐจะช่วยในส่วนที่เพิ่มเท่านั้น ส่งผลให้เมื่อมีการคำนวณคร่าวๆ รัฐจะเข้าไปชดเชยค่าแรงให้กับผู้ประกอบการได้กว่าครึ่งหนึ่ง เช่น ขึ้นค่าแรง 20 บาท แต่เมื่อนำมาคำนวณรายจ่ายค่าจ้างทั้งจำนวน รัฐให้หักลดหย่อนได้ถึง 9-10 บาท ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไม่มาก แต่ในทางกลับกันสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs  และบรรเทาความเดือดร้อนได้จำนวนมาก ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า ค่าจ้างแรงงานในไทยใช้อัตราคงที่มาหลายปี ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ แต่ปีนี้สถานการณ์ดีขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี เอกชนเริ่มมีการลงทุนมากขึ้น ทุกอย่างไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงตามไปด้วย ก็จะเกิดความวุ่นวายขึ้นมาอีก

Tag :