‘สิทธิการตาย’ สิทธิ์ที่ถึงเวลา "คุณก็เลือกได้"

by ThaiQuote, 5 พฤศจิกายน 2561

แล้วบ้านเรามีความเข้าใจกับการการุณยฆาต มากน้อยเพียงใด ? ในไทย มีการเริ่มต้นมีเรื่อง Living Will(ลีฟวิ่ง วิล) มากขึ้น สำหรับ Living Will คือ เอกสารแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเลือกวิธีการรักษาสุขภาพช่วงสุดท้าย และการตายดี (Advance Directive) ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 เพื่อทบทวนความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต และสื่อสารความต้องการให้ครอบครัวและทีมสุขภาพได้รับรู้ ในเวทีเสวนา “สร้างสุขที่ปลายทาง ปีที่ 2” นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สร้างสุขที่ปลายทาง ภารกิจร่วมของทุกภาคส่วน” ระบุว่า กว่า 60 ปีมาแล้วที่มีการนำเรื่องเทคโนโลยี และระบบบริการที่ดีมาใช้ในการยื้อชีวิต โดยเฉพาะในสังคมสูงวัยใน ทำให้การใช้เงินเพื่อดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายสูงมาก จากตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) พบว่าค่าใช้จ่ายของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในเดือนสุดท้ายของชีวิตในโรงพยาบาลประมาณ 45,000-340,000 บาทต่อคน เปรียบเทียบกับการดูแลผู้ป่วยที่ที่บ้านอยู่ที่ประมาณ 27,000 บาท เอกสารสิทธิการตาย พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 จึงเข้ามารองรับเพื่อแก้ปัญหา โดยระบุถึง “สิทธิบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อการยื้อชีวิตในระยะสุดท้าย” ซึ่งมีกฎกระทรวงรองรับแล้ว หรืออาจเรียกว่า “พินัยกรรมชีวิต” ถือเป็นการปรับกระบวนทัศน์ต่อการจัดการชีวิต จัดระบบการดูแลอย่างองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา โดยหมายรวมถึงการบำบัดรักษา และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทรมาน ซึ่งเป็นคำตอบของการตายแบบมีคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อยู่ท่ามกลางคนที่เรารัก และไม่เจ็บป่วยทุกข์ทรมานเกินไป โดยในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการขยายเครือข่ายการทำงานไปยังบุคลากรของโรงพยาบาลในภูมิภาคต่างๆ พบกระแสความสนใจและตื่นตัวในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มาให้ความสำคัญกับการมีหน่วยดูแลประคับประคองมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบของโรงพยาบาล รวมทั้งพัฒนาความพร้อมของบุคลากร เอกสารสิทธิการตาย   ต้องให้โอกาสเลือกชีวิตก่อนตาย ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ผันตัวมาเป็นแพทย์อาสาดูแลผู้ป่วยระยะท้าย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ในการที่เข้าไปรักษาผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเป็น 10 ปี โดยเฉพาะคนไข้เด็ก แม้จะรักษาเต็มที่แต่สุดท้ายผู้ป่วยก็จากไป จนบางครั้งญาติของคนไข้พูดขึ้นมาว่า ถ้าผลออกมาเป็นแบบนี้ น่าจะพาเขาไปเที่ยวดีกว่า ทำให้เราเองก็กลับมาคิดใหม่ ถ้าคนไข้รู้ว่ารักษายากจะทำอย่างไรดี จึงเป็นที่มาของการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ซึ่งการตายในยุคนี้ไม่น่ากลัวอีกต่อไป แม้จะเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งในระยะลุกลาม เพราะมียาที่ช่วยบำบัดความปวดได้ ทำให้คนไข้อยู่กับมะเร็งอย่างสันติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต แต่สิ่งสำคัญคือ เมื่อวาระนั้นมาถึงต้องมีการสื่อสารกับคนไข้และคนในครอบครัว เพื่อให้รู้ว่าช่วงสุดท้ายของชีวิตต้องการทำอะไร และเติมเต็มชีวิตให้กันอย่างไร “ทางที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยต้องทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will) เพื่อบอกอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ดูแลรักษาในระยะสุดท้ายอย่างไร ซึ่งแพทย์พยาบาลส่วนใหญ่เคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย” สังคมคือตัวแปรในการตายอย่างสงบ ศ.ดร.นพ.อิสรางค์   ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า สังคมกับความตายยุค4.0 เราต้องมองก่อนว่าสังคมคืออะไร แล้วจะสัมพันธ์กับความตายส่วนบุคคลอย่างไร สังคมในความเป็นจริงคือนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นธรรมชาติที่เราทุกๆคนร่วมกันสร้างขึ้นมา และสังคมคือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เคลื่อนที่เสมอ ในเรื่อง4.0 ความตายไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแค่โลกมาถึงจุดที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงโลก วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นตัวนำ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงประสบการณ์ เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับความตาย ทำให้เราก้าวเข้าสู่สังคมปฏิเสธความตาย ใช้เทคโนโลยียื้อความตาย อุปสรรคหลายประการในสังคมไทยที่ทำให้เราไม่สามารถตายอย่างสงบได้ นั่นก็คือ การถูกแทรกแซงการตัดสินใจจากญาติ ไม่เคารพการตัดสินในของผู้ป่วย และสังคมไทยไม่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรื่องความตายอย่างเพียงพอ การไปสู่ความตายอย่างสงบ ผศ.ดร.ภาวิกา   นายศรัณย์ ไมตรีเวช หรือ ดังตฤณ นักเขียนอิสระ พูดถึงประสบการณ์ส่วนตัวและสังคม ที่มีต่อความตาย มันเริ่มกลายเป็นเรื่องธรรมดา มองว่า เฉยๆ อ่านข่าวต่างประเทศ ก็เจอข่าวหญิงสาวฆ่าตัวตายผ่านการไลฟ์ ด้วยเหตุผลเพียงเกิดมามีแฟนไม่ดี เขามองเหมือนว่าชีวิตไม่มีค่า ถ้าจะตายก็ไม่เป็นไร แต่ความตายที่แท้จริงไม่เหมือนการเล่นเกมส์ หากไล่เรียงในพระพุทธศาสนา การเป็นมนุษย์ใช้บุญมหาศาล สำหรับการรักษาระยะสุดท้าย คนส่วนใหญ่นึกถึงหมอในขั้นการรักษาโรค แต่สำหรับคนใกล้ตาย คนแรกที่นึกถึงคือสัปเหร่อ เขาแนะนำว่าทุกคนต้องซ้อมตายบ่อยๆ ให้นึกนาทีสุดท้ายของชีวิตในทุกๆ วัน เพื่อให้วันนั้นมาถึงจริงๆ จะเป็นการตายอย่างสงบ นึกถึงสิ่งที่เป็นบวก ต้องใจสว่าง มีจิตผ่องใส และจะไปสู่สุขคติ “ต้องปรับความคิดว่า การถอดเครื่องพยุงชีวิตต่างๆ ในช่วงวาระสุดท้าย ให้พ่อแม่จากไปอย่างสงบ คือ การทำบุญครั้งสุดท้ายให้พ่อแม่” ดังตฤณ (ศรันย์ ไมตรีเวช)   ผู้ป่วยมีสิทธิเลือกชีวิตตัวเอง นายนที เอกวิจิตร หรือ อุ๋ย บุดด้าเบลส ศิลปินนักร้อง กล่าวถึงชีวิตกับความตาย บางครั้งนึกถึงว่า ถ้าวันหนึ่งเราตายไปทุกอย่างมันก็จบลง มันก็เพียงแค่นั้นเอง เวลาเราจินตนาการถึงความตาย มันยากมากที่จะคิดถึง จึงได้เริ่มต้นด้วยการไปสมัครจิตอาสาเพื่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงได้ไปทำการอบรมเพื่อความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย และรู้สึกว่าเราไม่ใช่ไปช่วยเหลือเขา แต่กลับกันเราได้อะไรบางอย่างจากเขามากกว่า และการที่พูดถึงการุณยฆาตมากขึ้น ทำให้เราได้มาคิดมากขึ้นว่า ในอนาคต ถ้าเรื่องเหล่านี้เราจะต้องมาตัดสินทำอย่างไร ควรจะยื้อไว้หรือจะปล่อยให้ท่านไปอย่างสบาย สังคมไทยไม่เคยมีเรื่องนี้ กลายเป็นที่ตัดสินใจได้ยาก ทำให้ต้องให้ความสำคัญในทุกแง่มุมทุกมิติ ไม่ว่าจะแง่มุมกฎหมาย เรื่องศาสนา เรื่องเหล่านี้ให้ความรู้กลับมาอย่างมาก เขาย้ำว่าในระยะสุดท้ายของชีวิต ต้องเคารพความต้องการของผู้ป่วย และนึกถึงผู้ป่วยไว้เสมอว่า จริงแล้วเขาต้องการอะไร คนรอบข้างต้องปรับความคิดใหม่ ไม่ไปยุ่งกับชีวิตของผู้ป่วยมากเกินพอดีจนไปตัดสินใจแทนผู้ป่วย ทั้งที่เขาอาจไม่ต้องการแบบนั้นก็ได้ อุ๋ย บุดดาเบลศ (นที เอกวิจิตร)