ก.แรงงานเข้มต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย เผยแค่ 2 ด.ดำเนินคดีแล้ว 406 ราย

by ThaiQuote, 2 พฤศจิกายน 2559

จึงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และบริษัทศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ จำกัด ที่ระบุว่าแรงงานต่างด้าวมีการค้าขายในทุกระดับ โดยในระดับศูนย์สรรพสินค้ามีต่างด้าวเป็นเจ้าของร้าน 6.9% ของจำนวนผู้ค้าทั้งหมด เป็นเจ้าของแผงในตลาดนัด 1.8 % เป็นเจ้าของแผงในตลาดสด 20.9 % และเป็นเจ้าของร้านในตลาดชุมชน 9.7 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญชาติเมียนมา 44.5 % กัมพูชา 21.4 % ลาว 19.8 % เวียดนาม 4.4 % จีน 1.6 % ชนกลุ่มน้อย 5.5 % และอื่นๆ 2.7 % ตามลำดับนั้น

นายสุทธิ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจดังกล่าวของ สศช. จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทยได้ตรงจุด ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กลุ่มงานควบคุมตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งได้รายงานข้อมูลผลการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวที่แย่งอาชีพคนไทย โดยมียอดสะสมตั้งแต่ (1 ก.ย. – 31 ต.ค. 59) พบว่า ได้เข้าตรวจสอบตามพ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 รวม 489 ราย แยกเป็นแรงงานต่างด้าวที่ประกอบอาชีพค้าขาย หาบเร่ แผงลอย 474 ราย พนักงานรักษาความปลอดภัย 6 ราย และมัคคุเทศก์/นำเที่ยว 9 ราย

ทั้งนี้ ตั้งแต่ (1 ก.ย. – 31 ต.ค. 59) ได้ดำเนินคดีกับคนต่างด้าวไปแล้ว 406 ราย แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 158 ราย กัมพูชา 104 ราย และ ลาว 65 ราย ที่เหลือเป็นเวียดนาม 22 ราย จีน 21 ราย อินเดีย 16 ราย บังคลาเทศ 1 ราย และอื่นๆ อีก 19 ราย พร้อมทั้งดำเนินคดีกับนายจ้างในสถานประกอบการ 108 แห่ง ที่เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551

“ท่านปลัดฯรับทราบและติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความห่วงใยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครอง ตม. และพนักงานตรวจแรงงานทั้งของกระทรวงแรงงานเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้เน้นย้ำให้ใช้มาตรการในการตรวจสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว และการตรวจบังคับใช้กฎหมายตามแผนการตรวจอย่างเข้มข้น ตลอดจนให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนร่วมมือกันเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย” รองโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าว

อย่างไรก็ตามหากพบเห็นคนต่างด้าวทำงานผิดประเภทจะมีโทษสำหรับนายจ้าง ซึ่งปรับระหว่าง 10,000 - 100,000 บาท ต่อแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 1 คน ส่วนโทษสำหรับแรงงานต่างด้าว จำคุก 5 ปี ปรับระหว่าง 2,000 - 100,000 บาท ทั้งนี้ หากแรงงานต่างด้าวยินยอมกลับประเทศต้นทาง จะถูกนำส่งกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดำเนินการส่งกลับประเทศต้นทาง โดยได้รับการละเว้นโทษจำคุก โดยเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โทรศัพท์ 1694


p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 11.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 11.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 13.0px} span.s1 {font-kerning: none}