รู้มั้ย! โรคไตเกิดจากเรื้อรังจากเบาหวาน

by ThaiQuote, 16 ธันวาคม 2561

อาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน นายแพทย์วีรศักดิ์ แพร่ชินวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล กล่าวว่า โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ไม่แตกต่างจากโรคไตเรื้อรังจากสาเหตุอื่น แต่จะมีอาการที่คล้ายกัน ได้แก่ ในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการ ซึ่งหากมีอาการก็จะเป็นอาการของตัวเบาหวานเอง อาทิ คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้มีสภาวะหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยหรือหากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็จะมีอาการใจสั่น เหงื่อออกง่าย ซึ่งเป็นอาการของกลุ่มโรคเบาหวาน อาการทางไตจะยังไม่มีอาการใด ที่เป็นไตจากเบาหวานระยะเบื้องต้น แต่ถ้าเมื่อใดที่ภาวะเบาหวานควบคุมได้ไม่ค่อยดี จะมีภาวะอื่นร่วม เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น น้ำตาลสะสมค่อนข้างสูง จนทำให้ค่าไตเริ่มเสื่อม และจะมีอาการแสดงให้เห็น อาทิ ปัสสาวะมีฟองมากขึ้น บ่งชี้ได้ว่ามีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ เพราะว่าเวลาที่เซลล์ตายและเริ่มเสื่อมทำให้ปัสสาวะมีฟอง เป็นการทิ้งโปรตีนออกมา หากปัสสาวะมีฟองมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เป็น แสดงว่าการควบคุมน้ำตาลและระบบอื่นๆ ทำงานได้ไม่ค่อยดี หากมีมากขึ้นจากสภาวะเป็นฟอง ไตจะเสื่อมลง ภาวะน้ำเดิน มีของเสีย เกลือคลั่ง สภาวะบวม และภาวะควบคุมความดันทำได้ยาก ส่งผลให้ต้องใช้ยาควบคุมความดันเพิ่ม และหากเป็นระยะเวลานาน จะมีอาการของไตเรื้อรังตามมา เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย จะพบว่ามีเบาหวานชัดขึ้น อาทิ เบาหวานขึ้นตา ตามัว ภาวะปลายประสาทเสื่อม ภาวะมือเท้าชา ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลกระทบของโรคเบาหวานที่เส้นเลือดไม่ไปล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ นั้นเอง ความรุนแรงและอันตรายของผู้ป่วยไตเรื้อรังจากเบาหวาน โรคเบาหวานถ้าเริ่มมีภาวะไตเสื่อมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในประเทศไทยสาเหตุอันดับหนึ่งของคนไข้ที่ต้องฟอกไตหรือไตวายเรื้อรังสุดท้ายคือมาจากโรคเบาหวาน ถือว่าเป็นภัยร้ายอันดับหนึ่ง ดังนั้นเราต้องพยายามป้องกัน ไม่ให้มีภาวะไตเสื่อม หากมีแล้วต้องพยายามควบคุมไม่ให้ไตเสื่อม ช้าที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ การให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวานต่างจากผู้ป่วยโรคไตกลุ่มอื่นๆ อย่างไร
  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลก่อนอาหารหรือน้ำตาลเฉลี่ย ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยอาศัยคำแนะจากแพทย์ผู้ดูแลในเรื่องของยา และอาหารที่ต้องควบคุม
  2. ต้องควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเหมาะสม โดยเฉลี่ย 130/ 80 มิลลิเมตรปรอท
  3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อาจต้องควบคุมปริมาณน้ำกำเริบเมื่อมีอาการบวม
  4. เลี่ยงอาหารรสเค็มจัด
  5. งดซื้อยารับประทานเอง โดยเฉพาะ ยาแก้ปวด , ยาชุด , สมุนไพร , ยาบำรุงสมรรถภาพต่างๆ
  6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกาย และงดสูบบุหรี่
การปฏิบัติข้อแนะนำดังกล่าว จะช่วยชะลอการเสื่อมการทำงาน ของไตไม่มากก็น้อย ที่สำคัญจะต้องมีการรักษาติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง กับแพทย์ที่ดูแล เพื่อจะได้ให้การดูแลและค้นหาสาเหตุการทำงานของไต ที่เสื่อมลงมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งหากการทำงานของไตเสื่อมลงมาก จะได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และสภาพจิตใจแก่ผู้ป่วย เพื่อเข้ารับการรักษาและบำบัดทดแทนไตต่อไป