เรามาทำความรู้จักโรคหัวใจตีบตันกันให้มากขึ้น เพื่อการป้องกันและการรักษาอย่างทันท่วงที

by ThaiQuote, 4 สิงหาคม 2565

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนไทยไปมากมาย และมีแนวโน้มที่จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

เนื่องจากในปัจจุบัน พฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทยได้เปลี่ยนไป นั่นคือ นิยมรับประทานอาหารไขมันสูงมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่มีไขมันสะสมในเส้นเลือด จนเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันขึ้นได้ เรามาทำความรู้จักโรคหัวใจตีบตันกันให้มากขึ้น เพื่อการป้องกันและการรักษาอย่างทันท่วงที

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากอะไร

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากการที่เส้นเลือดเสื่อมสภาพ เนื่องจากมีการสะสมของไขมัน และหินปูน ทำให้เกิดการอุดตันจนเลือดไหลผ่านไม่สะดวก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น, พันธุกรรม, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, รับประทานอาหารไขมันสูง, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่ ดื่มสุรา, ความเครียด เป็นต้น

สัญญาณเตือนโรคหัวใจตีบตัน

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจตีบตัน

1. เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหมือนมีของหนัก ๆ มาทับอยู่บางครั้งอาจปวดร้าวลามไปถึงแขนซ้าย
2. เหนื่อยง่าย ออกแรงมากไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย
3. มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง

ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่แสดงอาการ ดังนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นประจำ เพื่อหาสัญญาณที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

วิธีรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีการสวนหัวใจผ่านข้อมือ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งทำได้โดยการใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปที่เส้นเลือดแดงบริเวณข้อมือ จากนั้นฉีดสารทึบรังสีเอ็กเรย์เข้าทางสายสวนหัวใจ และถ่ายภาพเพื่อตรวจเช็คการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ และพิจารณาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. รักษาด้วยยา สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดตีบตันบางส่วน
2. การทำบอลลูนหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดตีบตันมาก
3. การผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

โรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น

• ควบคุมอาหาร ไม่รับประทานอาหารไขมันสูง หรืออาหารรสจัด
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำหนักเกิน
• หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
• พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
• จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม และที่สำคัญคือ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหัวใจเป็นประจำ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันอย่างเหมาะสมและที่สำคัญคือ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหัวใจเป็นประจำ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันอย่างเหมาะสม

ที่มา: https://www.thonburi2hospital.com/

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ:

จีนออกมาตรการควบคุมการนำเข้าผลไม้และปลาจากไต้หวัน ขณะระงับการขนส่งทรายไปยังเกาะดังกล่าว หลังการเยือนของ Nancy Pelosi
https://www.thaiquote.org/content/247744

ผู้ว่าฯ กทม.กำชับ 17 เขต เฝ้าระวังน้ำท่วมจุดฟันหลอริมเจ้าพระยาช่วง 6-8 ส.ค. ซึ่งจะมีฝนตก 60-80% ของพื้นที่
https://www.thaiquote.org/content/247743

ม.รังสิตโชว์นวัตกรรมไข่เทียมจากพืช ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565
https://www.thaiquote.org/content/247742