ผู้ว่าฯกทม. ยันติดตาม PM2.5 ใกล้ชิด ส่วนค่าฝุ่นเช้านี้ที่กทม.ยังอ่วม

by ThaiQuote, 10 มีนาคม 2566

ผู้ว่าฯกทม. ยันติดตาม PM2.5 ใกล้ชิด ย้ำทุกหน่วยต้องร่วมขับเคลื่อนจริงจัง ด้านค่าฝุ่นเช้านี้ PM 2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน 36 พื้นที่ อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ

 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า เรื่องของการแก้ปัญหามลพิษในระยะยาว ต้องดูเรื่องของแหล่งกำเนิดฝุ่นเป็นหลัก และต้องร่วมมือกันหลายภาคส่วน อาทิ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เรื่องการดูแลการเผาชีวมวล ซึ่งทุกอย่างมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่เป็นวาระแห่งชาติ

ดังนั้น ทุกหน่วยงานและทุกคนที่อยู่ในแผนฯ ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยในส่วนของกทม. ก็ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่ก็มีบางสิ่งที่ควบคุมยาก เช่น สภาพอากาศ

สำหรับสาเหตุหลักแหล่งกำเนิดมลพิษในกทม. มี 3 ส่วน คือ รถยนต์ สภาพอากาศ และการเผาชีวมวล หากจะแก้ปัญหามลพิษ ก็ต้องรณรงค์ใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ลดการใช้รถยนต์ลง เปลี่ยนเครื่องยนต์รถยนต์ให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงมาตรการด้านภาษีคือเก็บภาษีรถยนต์เก่าให้มากขึ้น ทั้งนี้ เป็นวาระแห่งชาติที่หลายหน่วยงานต้องร่วมมือกัน และในอนาคตจะพัฒนาแบบนวัตกรรมถึงสภาพของการเก็บความร้อนของเมือง ว่ามีผลต่อการดักฝุ่นหรือไม่

นายชัชชาติ กล่าวว่า ในส่วนของการให้ทำงานที่บ้าน (Work from home: WFH) เนื่องจากคาดการณ์ว่าอีกไม่กี่วันสถานการณ์ฝุ่นจะดีขึ้น กทม. โดยสำนักสิ่งแวดล้อมจะดูแลติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากฝุ่นเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดตามหลักเกณฑ์ก็จะประกาศ WFH ต่อไป ส่วนเรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นกำแพงกรองฝุ่น กทม. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันปลูกไปแล้วกว่า 200,000 ต้น

กทม. PM 2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน 36 พื้นที่

เฟซบุ๊ก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความโดยระบุว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันศุกร์ที่ 10 มี.ค. 2566 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) โดยตรวจวัดได้ 37-66 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 36 พื้นที่ ดังนี้

1. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
2. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
3. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
4. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
5. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
6. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
7. เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
8. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
9. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
10. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
11. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
12. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
13. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
14. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
15. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
16. เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
17. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
18. เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
19. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
20. เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
21. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
22. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
23. สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
24. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
25. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
26. สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
27. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
28. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
29. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
30. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
31. สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
32. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม
33. เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
34. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
35. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
36. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

สำหรับ ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับบุคคลทั่วไป : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. 2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง แต่อาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ ในช่วงนี้มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลง มีอากาศเย็นตอนเช้า กลางวันอากาศร้อน (ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย) ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ควรระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ และต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ควรระวังโรคลมแดด

ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. 2566 อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง และในช่วงวันที่ 13-14 มี.ค. 2566 อาจมีฝนในบางพื้นที่ โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นเกิดการปะทะกันกับมวลอากาศร้อนทำให้มีพายุฤดูร้อน (พายุฝนฟ้าคะนอง) ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้ และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

อย่างไรก็ตาม วันที่ 10 มี.ค. 2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ โดยหลังวันที่ 11 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ แต่ช่วงระหว่างวันที่ 14-16 มี.ค. 2566 เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้.

ขอบคุณเฟซบุ๊ก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (https://www.facebook.com/air4bangkok)

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

BEM ลั่นรอได้ทุกรัฐบาล เคลียร์ตัวเลขประมูลสายสีส้ม ยอมคงค่าก่อสร้าง-ตรึงค่าโดยสาร 10 ปี
https://www.thaiquote.org/content/249696

แบงก์ชาติ วางมาตรการล้อมคอกป้องกันภัยโกงเงิน บังคับใช้ทุกสถาบันการเงิน
https://www.thaiquote.org/content/249691

แนวคิดใหม่ในการดูด CO2 จากการแสดงทางอากาศ
https://www.thaiquote.org/content/249688