น้ำเกลือแร่ ร้อนนี้ดื่มดีไหมนะ

by ThaiQuote, 26 เมษายน 2566

เกลือแร่ คือ แร่ธาตุที่ช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำและพลังงาน โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย เล่นกีฬาอย่างหนัก หรือท้องเสียขับถ่ายบ่อยครั้ง

 

ปัจจุบันมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบรรจุขวด กระป๋อง ออกมาขาย มักเห็นผ่านตามสื่อโฆษณาโทรทัศน์รวมทั้งโซเชียลมีเดีย ทำให้กระตุ้นผู้ชมอยากบริโภคยิ่งช่วงฤดูร้อนที่ประเทศไทยนี้ บางครั้งอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไรก็สูญเสียเหงื่อได้ รวมทั้งอาหารที่บูด เน่า เสียง่าย เมื่อรับประทานเข้าไป

น้ำเกลือแร่แก้ท้องเสีย
• Oral Rehydration Salt (ORS) ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์นี้ สำหรับชดเชยการขาดน้ำจากปัญหารการขับถ่ายในทันที เช่น อาหารเป็นพิษ ท้องร่วง อาเจียนอย่างหนัก ภาวะนี้ต้องการเกลือแร่เข้าสู่ร่างกายเป็นหลัก ลักษณะแบบผงบรรจุซอง นำไปละลายในน้ำเปล่าสะอาดแล้วดื่ม มีส่วนประกอบของโซเดียม
• หากท้องเสียแล้วไปบริโภคน้ำเกลือแร่ชนิดอื่นที่มีปริมาณน้ำตาลเป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้ลำไส้บีบตัว กระตุ้นการขับถ่ายเหลว อาการรุนแรงยิ่งกว่าเดิม และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

น้ำเกลือแร่สำหรับผู้เสียเหงื่อ
• Oral Rehydration Therapy หรือตัวย่อภาษาอังกฤษ ORT เครื่องดื่มที่ชดเชยการสูญเสียน้ำภายหลังการออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพียงเท่านั้น โดยภาวะนี้ร่างกายไม่ได้ขาดเกลือแร่ในปริมาณมาก จึงใช้ปริมาณของน้ำตาลชนิดกลูโคส โพแทสเซียมคลอไรด์ แคลเซียมแลคเตท แมกนีเซียมคาร์บอเนต ผู้ประกอบการบางรายมีการเติมวิตามิน คาเฟอีน เป็นส่วนประกอบ

อาการขาดความสมดุลของเกลือแร่

• ไม่มีแรง
• ปากแห้ง ซีด
• ผิวแห้ง
• ปัสสาวะน้อยผิดปกติ
• หัวใจเต้นผิดปกติ
• มักพบว่าในผู้ที่เสียเหงื่อมาก อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง จนร่างกายผิดปกติ

ดื่มน้ำเกลือแร่อ้วนไหม
จะต้องวิเคราะห์จากองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่
• ปริมาณเหงื่อและพลังงานที่สูญเสียไป
• อุณหภูมิ สภาพอากาศ
• จำนวนเวลาที่ออกกำลังกาย
• ความหวานของน้ำตาล ในเครื่องดื่มเกลือแร่
• หากไม่ได้ออกกำลังกาย หรือใช้พลังงานน้อย แล้วบริโภคน้ำเกลือแร่ ร่างกายอาจได้รับปริมาณน้ำตาลมากจนเกินไป จนเกิดภาวะอ้วน หรือน้ำตาลในโลหิตสูง

ข้อควรระวังในการดื่มน้ำเกลือแร่

• หลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต
• ไม่ควรใช้สำหรับผู้ป่วยท้องเสียรุนแรงอย่างหนัก เสี่ยงต่อการขาดน้ำ
• ไม่ผสมเกลือแร่กับของเหลวชนิดอื่น เช่น นม น้ำผลไม้ สุรา
• เมื่อละลายเกลือแร่กับน้ำเปล่าแล้ว ดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
• ก่อนดื่มสังเกตวันหมดอายุข้างบนฉลาก
• จิบทีละนิด ไม่ควรดื่มครั้งละมาก ๆ

ฤดูร้อนนี้ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ สด สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ค้างคืน เพราะเสี่ยงต่อปัญหาการขับถ่ายผิดปกติ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดปริมาณมากกว่าปกติเล็กน้อย อีกทั้งควรเลือกออกกำลังกายตามสภาพความเหมาะสม หากอุณหภูมิสูงเกินไป ไม่ควรใช้แรงหนัก สำหรับผู้ที่ท้องเสีย อาเจียน หากใช้เกลือแร่แล้วมีอาการ ปาก คอแห้ง ซีด กระหายน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย สีเข้ม ให้รีบไปพบแพทย์ทันที.

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

ผลวิจัยการฝังเข็มร่วมนวดทุยหนา ช่วยลดความปวดในผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม องศาเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้น
https://www.thaiquote.org/content/250072

3 ท่านอนกระตุ้นการปวด
https://www.thaiquote.org/content/250034

คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ
https://www.thaiquote.org/content/249992