ทิศทางและบทบาทอาเซียน “สู่ ESG และความยั่งยืน” ในเวที COP 28

by ThaiQuote, 8 สิงหาคม 2566

ทิศทางและบทบาทของ ESG กับความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่ COP 28 ที่เน้นย้ำด้านความยั่งยืนให้เกิดเป็นรูปธรรม…ไม่ใช่นามธรรม!

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกกล่าวถึงและหยิบยกขึ้นมาประเด็นสำคัญสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็นเรื่องใหญ่ในระดับโลกและระดับภูมิภาคที่ร่วมหารือถึงแนวทางการจัดการให้เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศไทย

โดยหลังเข้าร่วม COP26 ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญ คือ “ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065” จึงเกิดนโยบายและการดำเนินงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ และตลอดระยะเวลาหลายปีผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและวิกฤตต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนเป็นวงกว้าง

และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในทิศทางเดียวกันและเกิดผลอย่างแท้จริง จึงเกิดการเสวนาถึงเรื่อง “ทิศทางและบทบาทของเทคโนโลยีกับความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่ COP 28 (Road to COP 28: ASEAN ESG in Action) ” จัดขึ้นโดย IBM

เสวนานี้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันด้านความยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมและขับเคลื่อนองค์กรโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อนำความยั่งยืนเข้าสู่ความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งความพยายามผลักดันการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) อย่างจริงจัง

องค์กรและผู้บริหารส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับประเด็นความยั่งยืนอย่างมาก จากผลสำรวจพบว่ามีองค์กรวางแนวทาง ESG ไว้ถึง 95% แต่ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมเพียง 10% ตั้งเป้าหมาย แต่ขาดการเชื่อมโยงข้อมูล ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สำคัญ

ESG เป็นตัวหลักในการกำหนดกลยุทธ์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งเป็นปัจจัยของการขับเคลื่อนและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงาน สร้างโอกาสต่าง ๆ และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

"องค์กรให้ความสำคัญและต้องดำเนินจริง ถึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้"

ปัญหาของการดำเนินงานยังเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น การเกิดมลพิษ สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม แต่ยังพยายามผลักดันทั้งนโยบาย แนวทาง และการดำเนินร่วมกันในภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งพบสัญญาณที่ดีของการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF คาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะทำให้ GDP ของภูมิภาคอาเซียนลดลงมากกว่า 11% ยุคปัจจุบันถือกำเนิด AI มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านความยั่งยืน ช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั่วโลกเล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องนี้ จึงถือเป็นไมล์สโตนสำคัญของ COP28 ณ ประเทศดูไบ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งอาเซียนและทั่วโลกจะต้องหันมาตระหนักถึงการประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานจากการร่วมความตกลงปารีสหรือ Paris Agreement โดยต้องเร่งหาแนวทางการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และต้องเดินหน้าโครงการ พร้อมทั้งความร่วมด้านความยั่งยืนต่าง ๆ อย่างจริงจัง ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ “NET ZERO”

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.salika.co/2023/06/14/sustainability-technology-scenario-for-asean-cop28/

https://www.greennetworkthailand.com/cop26-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จับตาอินโดฯ มีเม็ดเงินสะพัด เสือเศรษฐกิจใหม่แห่งอาเซียน

อินโดไปให้สุด ไม่หยุดแค่เรื่องป่า! เพราะแค่รักษาที่มีอยู่ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป

หวั่นวิกฤตอาหารโลก หลังอินเดียหยุดส่งออกข้าวนอกประเทศ