ส.อ.ท.ติดปีกสตาร์ทอัพโมเดล BCG ปักหมุดเจ้ายุทธจักรใน EEC สู้ศึกของถูกตีแตก SMEs ไทย

by ESGuniverse, 5 กุมภาพันธ์ 2567

ส.อ.ท. เร่งฟื้นฟูรากฐานอุตสาหกรรม หนุน สตาร์ทอัพ โตยั่งยืนผ่านโมเดลBCG ติดปีกแกร่งสู้สินค้านำเข้าคุณภาพต่ำทะลัก ตี เอสเอ็มอีแตกกระเจิง

 


การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมมีเป้าหมายตามพันธกิจของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุน ยกระดับนวตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ รวมถึงยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจ SMEs ของไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งชิ้นส่วนอะไหล่ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เนื้อสัตว์ และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศไทยหลายรายต้องปิดตัวลง ส่งผลให้ผู้ผลิตเบนเข็มเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย จึงเกิดความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนานักลงทุนพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC-Eastern Economic Corridor) เพื่อปลุกความเข้มแข็งฟื้นฟูรากฐานอุตสาหกรรมไทยอย่างเร่งด่วน

 ดร.จุฬา สุขมานพ เปิดเผยว่า การร่วมมือครั้งนี้เป็นการ่วมมือเชิงลึกที่ ส.อ.ท มุ่งเน้น การลงทุนสตาร์ทอัพ และโครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” เข้ามาช่วยสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ มีความพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs หรือ Startup และกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงอุตสาหกรรมเมกาเทรนด์ ที่เกี่ยวกับความยั่งยืน พลังงานสะอาด และอุตสาหกรรมสีเขียว

 อีอีซีต้องเตรียมความพร้อมด้วยนโยบายช่วยเติมเต็มภาพรวมของเศรษฐกิจ (Ecosystem) ของคนไทย เพื่อพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์สู่ระดับโลก

โดยใช้กองทุนเข้ายกระดับห่วงโซ่การผลิตต่ออุตสาหกรรมในอีอีซี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เข้าสู่ Global Supply Chain พัฒนาเติบโตไปด้วยกัน รวมทั้งสนับสนุนนโยบาย MADE IN THAILAND เพื่อให้สินค้าส่งออกมีส่วนแบ่งให้คนในประเทศเพิ่มขึ้น

 อีอีซีพยายามผลักดัน SMEs ระดับประเทศพัฒนาสู่ระดับโลก มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่อีอีซีให้มีศักยภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ตอบโจทย์ และสามารถยกระดับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซีให้มีความเป็นสากล อีกทั้งร่วมเป็นพันธมิตรในการขับเคลื่อนโครงการที่มีความสำคัญต่อการสร้างระบบนิเวศรองรับการลงทุนให้พื้นที่อีอีซี

 3 กลยุทธ์บ่มเพาะSMEsพันธุ์ไทยแกร่ง

สร้างเงินทุนหมุนเวียน7หมื่่นล้านต่อปี

 ในความร่วมมือของสนธิสัญญาครั้งนี้ มีการดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่

ผลักดันผู้ประกอบการในอีอีซีให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการ SMEs หรือ Startup เพื่อให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศย้อนกลับเข้ามาสู่สังคมไทย สร้างระบบนิเวศสำหรับนักลงทุน มีกลไกทางการเงินรองรับและดึงดูด รวมไปถึงให้คนไทยได้ประโยชน์รองรับกลุ่มนักลงทุนตามแคมเปญ MADE IN THAILAND ของ ส.อ.ทร่วมกันผลักดันให้ผู้ประกอบการในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมเป้าหมายและผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ สามารถรับเงินทุนสนับสนุนผ่านกองทุนอินโนเวชั่น วัน หรือกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการทั้ง Project-Based และ Flagship Projects ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของพื้นที่อีอีซี พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอย่างมีศักยภาพ

 ตั้งเป้าผู้ประกอบการรายใหญ่ของอุตสาหกรรมในอนาคต ลงทุนในด้านพลังงานสะอาด ด้านดิจิทัล โดยมีกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจอุตสาหกรรม สีเขียวมากที่สุด จากอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวเพื่อคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 เพราะพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานทั้งระบบ ต้องปรับเปลี่ยนนวัตกรรมทั้งรายเล็กและรายใหญ่ไปพร้อม ๆ กันโดยในแต่ละปีที่ผ่านมามีเงินหมุนเวียนในระบบ 70,000 ล้านบาท

ส.อ.ท.คาดปลุกเงินทุนเข้าระบบกว่า1แสนลบ.ในปี2570

ด้าน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งถือเป็นฐานรากแห่งเศรษฐกิจไทย โดยพื้นที่EEC เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายสร้างการเติบโตในอุตสาหกรมใหม่ ทั้ง S-Curve และ New S-Curve ที่สำคัญของประเทศไทย

"ปี 2566 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 38,613 ล้านบาท และมีสมาชิก ส.อ.ท. ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 1,209 ราย ครอบคลุม 3 จังหวัดที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา จึงพัฒนาความร่วมมือระหว่าง ส.อ.ท. และ EEC ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศที่ทั้ง 46 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 11 คลัสเตอร์ ครอบคลุม 76จังหวัด ให้แก่ผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษฯ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Network) และยกระดับภาคอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมดั้งเดิม (First Industries) สู่อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต(Next-Gen Industries) ตามนโยบายของส.อ.ท. ONE FTI ที่ต้องการผลักดันให้มีการจัดตั้งโครงการ 'กองทุนอินโนเวชั่นวัน'เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาช่วยยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ไทย"

 ส.อ.ท. คาดการณ์ว่าตลอดจนถึงปี 2570 จะมีเม็ดเงินเข้าระบบปีละ 100,000 ล้านบาท จากการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Network) และยกระดับภาคอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมดั้งเดิม (First Industries) สู่อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-Gen Industries) สอดคล้องกับนโยบาย ONE FTI

Tag :