มาตรการรัฐจ่อลดหย่อนภาษีกระตุ้นการติดโซลาร์รูฟท็อป 'เสนา' แนะรับซื้อไฟฟ้าเพิ่ม ปลดล็อกหม้อแปลงเร่งเครื่องประชาชนติดตั้ง

by ESGuniverse, 21 กุมภาพันธ์ 2567

เสนา ขานรับมาตรการภาครัฐ ลดหย่อนภาษีสำหรับบ้านที่ติดโซลาร์ลูฟ โชว์ความพร้อมลุยพัฒนาโซลูชั่นบ้านพลังงานเป็นศูนย์ พร้อมแนะรัฐสร้างแรงจูงใจระยะยาวให้ประชาชนหันมาติดตั้งมากขึ้นทุกปีค่าไฟเพิ่มขึ้น

ย่างเข้าฤดูร้อน ฤดูกาลแห่งการโชว์สลิปบิลการเสียค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าในครัวเรือนที่สูงขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นผลมาจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับค่า FT หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนติด

การสนับสนุนให้ประชาชน ติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) จึงเป็นหนึงในการสร้างทางเลือกลดภาระค่าใช้จ่าย จากการใช้พพลังงานสะอาด และยังส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ ใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งสำคัญคือการที่มีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อจูงใจในการติดตั้ง
กระทรวงพลังงานก็อยู่ระหว่างการพิจารณานำมาตรการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูปท็อป) บนหลังคาที่อยู่อาศัย เพื่อใช้มาตรการหักลดหย่อนภาษีประจำปีไม่เกิน 2 แสนบาท 10 กิโลวัตต์ เป้าหมายสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้้งโซลาร์ 9 หมื่นครัวเรือนต่อปี ถือเป็นมาตรการที่ส่งผลดีทั้งต่อประชาชน และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต่อยอดการพัฒนาที่อยู่อาศัยพร้อมการติดตั้ง รูฟท็อป

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA เปิดเผยถึงแนวทางที่ภาครัฐมีมาตรการหรือกลไกที่จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคติดตั้งโซลาร์ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว จึงต้องมีมาตรการการรับซื้อไฟคืนในอัตราที่เหมาะสม และขยายสัดส่วนปริมาณรับซื้อไฟที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับไฟฟ้าส่วนเกินของครัวเรือน ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาติดตั้งมากขึ้น เพื่อเดินหน้าตามเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในภาคครัวเรือน


ปัจจัยการติดโซลาร์รูฟท็อปในไทย

ปัจจุบันกระแสการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในประเทศไทย มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. กระแสรักษ์โลก เพราะทุกคนรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ 2. ราคาโซลาร์รูฟท็อปเริ่มถูกลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาด และ 3. เทคโนโลยีของ โซลาร์รูฟท็อปยังมีการพัฒนาได้อีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องแบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้า รวมถึงการปลดล็อคข้อกำหนดและกฎเกณ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชนให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ดังนั้น หากรัฐสามารถแก้ไขระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายไฟฟ้าจากภาคประชาชน จะมีส่วนสำคัญต่อการ กระตุ้นให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ เข้ามาติดตั้งโซลาร์ในหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น

“หากแก้ระเบียบต่างๆ จะทำให้กลไกตลาดของราคาแผงโซลาร์มีความคุ้มค่าในการติดตั้ง แม้ว่าราคาปัจจุบันราคาจะลดลงกว่าอดีตก็ตาม แต่ก็ยังไม่เกิดการตื่นตัวติดโซลาร์เท่าที่ควร” ผศ.ดร.เกษรา กล่าว

เสริมแรงจูงใจให้เห็นความคุ้มค่า

ด้วยพฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านในช่วงกลางวัน ทำให้ผู้บริโภคยังมองไม่เห็นความคุ้มค่าในการติดตั้งโซลาร์ฯ ถือเป็นอีกโจทย์ใหญ่ ภาครัฐควรเพิ่มแรงจูงใจ ด้วยการปรับมาตรการการรับซื้อไฟคืนในอัตราที่เหมาะสม จากปัจจุบันที่รับซื้อไฟส่วนเกิน 2.20 บาท/หน่วย และขยายสัดส่วนปริมาณรับซื้อไฟที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับไฟฟ้าส่วนเกินของครัวเรือน ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาติดตั้งมากขึ้น ตามเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ


ร่วมพันธมิตร หนุนชีวิตโลว์คาร์บอน

ผศ.ดร.เกษรา เผยถึงความพร้อมรับมาตรการนี้ว่า ปัจจุบันโครงการต่างๆ ของเสนาฯ ได้ติดตั้งโซลาร์ให้กับลูกบ้าน ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดมิเนียม รวมกว่า 5,000 ยูนิต และยังมีการพัฒนานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการออกแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงมีระบบประมวลผลของการลดการใช้พลังงาน โดยร่วมกับ Zeroboard (Thailand) พันธมิตรจากญี่ปุ่น ที่เชี่ยวชาญในการให้บริการคลาวด์เทคโนโลยี สำหรับคำนวณและแสดงผลลัพธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการใช้ชีวิตแบบ Low-Carbon ให้กับที่อยู่อาศัย


ลุยพัฒนาโซลูชั่น ZEH บ้านพลังงานเป็น 0

เสนาฯ ได้การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิด “ZEH หรือบ้านพลังงานเป็น 0” โดยนำการออกแบบ Passive และ Active design ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้าน เลือกใช้วัสดุประหยัดพลังงาน ช่วยกันความร้อน รวมถึงใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์ ช่วยให้เจ้าของบ้านซื้อไฟฟ้ามาใช้น้อยที่สุด ดังนั้น ขณะนี้ที่อยู่อาศัยที่เสนาฯ พัฒนาขึ้น สามารถประหยัดได้สูงสุดตั้งแต่ระดับ18-50% รวมถึงการติดตั้ง EV Ready เครื่องชาร์จรถพลังงานไฟฟ้า (EV Charger) เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น


สมดุล 3 ด้าน ดึงเพื่อนบ้านมาใช้ชีวิต Sustainability

อย่างไรก็ตาม เสนาฯ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่อยู่อาศัย เดินหน้าสู่การเป็นองค์กรพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน Sustainability โดยมุ่งสู่การลดคาร์บอน หรือ Net Zero เพื่อสร้างความสมดุล 3 ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือสินค้ารักษ์โลก เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึง และสามารถใช้ชีวิตในแบบ Sustainability เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของทุกคน

“สิ่งที่เสนาฯ ทำไม่ใช่แค่การติดตั้งโซลาร์ แต่ต้องการทำให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตแบบ Sustainability ยกตัวอย่าง เราขายบ้านได้ 5 หลัง แสดงว่า เรากำลังชักชวน 5 ครอบครัวมาสู่การใช้ชีวิต Sustainability และถ้าปีนี้ขายได้ 2,000 หลัง ก็มีเพิ่มขึ้นอีก 2,000 ครอบครัว เพื่อให้พวกเขามาเป็นส่วนหนึ่งของ เสนา แอนด์ เดอะ แก็งค์ ในการช่วยกันรักษ์โลกใบนี้”ผศ.ดร.เกษรา กล่าว