ถอดกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านรถสันดาปไม่ถูกลอยแพ สู่นิวเอสเคิร์ฟยานยนไฟฟ้าท็อป10โลก

by ESGuniverse, 8 มีนาคม 2567

รมว. อุตฯ และภาคเอกชน เตรียมพื้นที่อีอีซีรองรับโรงงานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าครบจบวงจรอย่างยั่งยืน ตั้งมั่นเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาของภูมิภาค

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ ถือเป็น 1 ใน 3 เสาหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีการผลิตยานยนต์รวม 1.9 ล้านคัน อยู่อันดับที่ 10 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียน มีมูลค่าส่งออกรวมประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท ถือว่ามีเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีความสำคัญก่อตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนมายาวนานกว่า 40-50 ปี ทำให้เกิดซัพพลายเชนด้านชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์จำนวนมากรองรับการเป็นศูนย์กลางการประกอบยานยนต์แห่งอาเซียน (Hub Of Asean)

ทว่า ความท้าทายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนผ่านรถยนต์สันดาป สู่รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ปริมาณการผลิตยานยนต์คงที่ไม่เกิน 2 ล้านคัน จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่ต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพปลอดภัย รองรับความต้องการอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน

การเติบโตอุตสาหกรรมใหม่ สู่ New S-Curve ของไทย คือการส่งเสริมให้ไทยยังครองความเป็นศูนย์ศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาของภูมิภาค เพิ่มฐานการผลิตแบตเตอรี่ ในพื้นที่เขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จึงจะเกิดการผลิตครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สอดคล้องกับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (์Net Zero) ในปี 2060

ในงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2024” เช็กความพร้อมยานยนต์ไทย สู่...ท็อปเทนโลก อย่างยั่งยืน“ โดยรมว.อุตสาหกรรม ที่อาสาขับเคลื่อนยานยนต์ไทยไปยืนผงาดบนเวทีโลกอย่างยั่งยืน พร้อมมุมมองจากภาคเอกชน นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย, นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และนายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) ร่วมเสวนาในหัวข้อ “อนาคตรถสันดาป-รถอีวี ไปทางไหน? ”ร่วมถ่ายทอดมุมมองแนวคิด และอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยแบบครอบคลุมทั้งรถสันดาปและรถยนต์ไฟฟ้า


เปลี่ยนผ่านยั่งยืน.. ไม่ทิ้งรถยนต์สันดาป
ชู ศูนย์กลาง ยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวา

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ รัฐศาสตร์ยานยนต์ไทย สู่ท็อปเทนโลก” โดยมีความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาของภูมิภาคได้ สืบเนื่องจากความสำเร็จในการผลิตรถสันดาบที่ผ่านมา โดยภาครัฐยังคงมีนโยบายสนับสนุน รักษาฐานผลิตยานต์ยนต์สันดาปแก่ผู้ประกอบการไทย ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์เดิมยืนหยัดในการพัฒนายานยนต์ให้สะอาดและประหยัดมากยิ่งขึ้น มุ่งเดินไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

โดยตั้งเป้าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาของภูมิภาค โดยส่งเสริมตั้งส่วนการจัดการแบตเตอรี่ ด้วยการเตรียมพร้อมพื้นที่เขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อให้สามารถผลิตและจัดการได้อย่างครบวงจรในประเทศไทย

ในส่วนของนโยบายและทิศทางในเรื่องของการสนับสนุนยานต์ยนไฟฟ้า ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องในส่วนของมาตราการ EV 3.0 จากรัฐบาลที่แล้ว โดยได้รับการตอบรับแบบบก้าวกระโดดจากประชาชนที่สนใจ สอดคล้องทั้งในด้านกระแสของโลกและการลดคาร์บอนตลอดทั้งระบบนิเวศน์ธุรกิจ รถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่รัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนเงินสมทบ
รวมถึงมูลค่าการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ แบ่งตามประเภทรถยนต์ดังนี้ รถยนต์ไฮบริด มูลค่าส่งเสริมการลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท รถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด มูลค่า 10,000 ล้านบาท และรถยนต์ไฟฟ้า มูลค่า 40,000 ล้านบาท และในปี 2024 มีหลายบริษัทเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ด้วยมาตรการสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าช่วยผลักดันให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในปี 2023 สูงถึง 76,000 คัน สอดคล้องกับมติ ครม. รัฐบาลชุดนี้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ มาตรการ EV3.5 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญให้เติบโตต่อเนื่อง

 

สู่เป้าหมาย Top 10 ยานยนต์ไฟฟ้าของโลก

ที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2566-2570) มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติหรือ บอร์ด EV ซึ่งปัจจุบันมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเองเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ในปี 2030 (พ.ศ.2573) หรือที่เรียกว่า “แผน30@30” คือการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030

 

เปลี่ยนผ่านให้ยั่งยืน ไม่ทิ้งสันดาป
หาโอกาสชิงผู้นำเทคโนโลยีไฟฟ้า

มุมมองแนวคิดและอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจากความคิดเห็นของภาคเอกชน นายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยในส่วนของรถยนต์สันดาป หรือรถน้ำมัน จะยังไม่หายไปจากตลาด โดยจะทำอย่างไรให้รถยนต์สันดาป และ รถยนต์ EV เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ในตอนนี้ประเทศไทยยังขาดเรื่องแบตเตอรี่ เนื่องจากรัฐยังมองเป็นเรื่องวัตุต้องห้าม ต้องทดสอบความปลอดภัยก่อน จึงกลายเป็นเป็นอุปสรรคมากกว่าโอกาส จึงอยากให้ภาครัฐ ส่งเสริมความต้องการในประเทศก่อน ซึ่งไทยพร้อมในทุกเรื่องของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพียงแต่ไทยยังขาดเรื่องแบตเตอรี่อย่างเดียว ภาคเอกชนไทยมีศักยภาพ แต่ยังไม่เข้ามาลงทุนลงในอุตสาหกรรม อยากให้รัฐบาลส่งเสริมให้เอกชนเข้ามา ซึ่งเอกชนไทยสามารถทำได้ทั้งเรื่องการผลิตเป็นแบตเตอรี่คุณภาพสูงและสามารถเอามารียูสใช้ได้ ก่อนที่จะเอาไปรีไซเคิลในส่วนปลายน้ำ

“การที่จะทำให้ไทยติด 10 อันดับ ผู้ผลิตรถไฟฟ้าระดับโลกสามารถทำได้ไม่ยาก แต่การทำให้ยั่งยืนถือเป็นเรื่องที่ยาก เมื่ออุตสาหกรรมถูกปฏิรูปทางเทคโนโลยีแล้วก็จะเปลี่ยนแปลงไป โลกเปลี่ยนตลอดเวลา เราต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยีถึงจะช่วยให้เกิดความยั่งยืน ไม่เช่นนั้นจะถูกคู่แข่งแซง เนื่องจากตลาดของไทยไม่ไช่ขนาดใหญ่ การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า”

ส่วนของกติกาการค้าใหม่ นานาประเทศจะใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมมากีดกันทางการค้า โดยได้มีความคิดเห็นว่าไทยมีโอกาสมากกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนเพราะไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร จึงเห็นว่าการผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวเสริมที่ช่วยลดการกีดกันทางการค้า อยู่ที่ไทยจะฉวยโอกาสได้อย่างไรจากประเทศที่มีความขัดแย้ง ซึ่งเรื่องรถไฟฟ้า มีเรื่องของระบบความปลอดภัย มีระบบการเชื่อมต่อและมีเรื่องของซอฟท์แวร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นโอกาสของไทยเนื่องจากมีคนเก่งเรื่องซอฟท์แวร์อยู่มาก

 

ต่างชาติลงทุนศูนย์กลางแบตเตอรี่
จุดเปลี่ยนยานยนต์ไฟฟ้าไทย

ในด้านของนายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้กล่าวถึงเรื่องการเติบโตรถยนต์ไฟฟ้าการจัดการแบตเตอรี่แบบครบวงจรว่า ยอดขายรถยนค์ไฟฟ้าทั่วโลกมีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าในปี ค.ศ.2035 (พ.ศ.2578) จะมีสัดส่วนเกินครึ่งของตลาดรถยนต์ ส่วนในอาเซียนก็มีการเปลี่ยนแปลง มีบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาตั้งโรงงานในหลายๆประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ประเทศไทยมีโอกาสมากกว่า เพราะนโยบายของภาครัฐที่เข้ามาสนับสนุน ทำให้ตลาดการใช้รถไฟฟ้ามีการขยายตัวมากขึ้น เป็นแรงจูงใจทำให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพิ่มเติม

นโยบายสำคัญที่ชัดเจน คือการสนับสนุน EV 3.0 - EV 3.5 ทำให้ต่อไปประเทศไทยจะมีการพัฒนาและมีผู้ใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น สิ่งที่จะต้องดูแลต่อไปคือ วีธีการกำจัดเรื่องแบตเตอรรี่ให้ครบวงจรได้อย่างไร โดยทางสมาคมฯได้หารือกับนายก เพื่อขอพื้นที่ในการจัดการแบตเตอรี่เป็นพื้นที่เฉพาะในอีอีซี เพื่อเป็นฐานจัดการแบตเตอรี่แบบครบวงจร
ซึ่งการที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง โดยที่ผ่านมาไทยนำเข้าแบตเตอรี่ 100% แต่ในตอนนี้มีการตั้งโรงงานผลิตแล้วก็มีโอกาสที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนจะเข้ามาตั้งโรงงานในไทยเพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานรถไฟฟ้า


ชูโปรดักส์แชมเปี้ยนสันดาป
โอกาสส่งออกสู่ตลาดที่ใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน

ทางด้านของนายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มีความคิดเห็นว่า หากมีดีมานด์ มีผู้ซื้อ คือโอกาสของประเทศไทย เพราะการเข้ามาของรถยนต์รุ่นใหม่ยี่ห้อใหม่ยังไม่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน ที่จะสลับเปลี่ยนจากการผลิตเครื่องยนต์เปลี่ยนเป็นผลิตมอเตอร์ได้ในพริบตา นี่คือปัญหาสำคัญ ผู้ประกอบการที่ทำอยู่บนชิ้นส่วนสันดาปเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องเห็นโอกาสและความท้าทาย ก่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า โดยการคงการผลิตรถยนต์แบบสันดาปในตลาดที่ยังมีโอกาสส่งออก

“กติกาการค้าโลกใหม่ ที่หนีไม่พ้นเรื่องคาร์บอนต่ำและคาร์บอนเป็นกลาง ซึ่งรถยนต์สันดาปชนิดเดิมไทยยังเป็นผู้นำในตลาดส่งออก จุึงทำให้การปรับตัวไปสู่ยานยนต์ให้สอดคล้องกับทิศทางโลกได้ จะต้องพึ่งพาการส่งเสริมยานยนต์ให้ไทยสามารถผลิตได้จำนวนมาก โดยมีโปรดักส์แชมป์เปี้ยน เป็นรถกระบะ รถอีโคคาร์ วางกลยุทธ์วางตลาดและประเทศที่มีโอกาส สอดคล้องกับเทรนด์ในแต่ละประเทศ”

ทั้งนี้ จะต้องมีการใช้ประโยชน์จาก ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ที่จะส่งผลให้นำรถ EV เข้าไปจำหน่ายในตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น จากความตกลง 14 ฉบับ ใน 18 ประเทศ หลักๆคือ ในอาเซียน และเมื่อไทยอยู่อันดับ 10 ของโลก นำสินค้าที่ผลิตส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ พร้อมกันกับขยายตลาดที่จะเพิ่มการทำ FTA ที่อยู่ระหว่างเจรจากับประเทศที่ยังไม่มีฐานการผลิตรถยนต์


วอนเศรษฐา เป็นเซลล์แมน
บินดีลขายรถยนต์ส่งออกไทยไปทั่วโลก

โดยนายสุวัชร์ กล่าวว่าเพิ่มเติมถึงสิ่งที่จะฝากถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี คือ อยากให้เพิ่มตลาดส่งออกไปต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ อยากฝากรัฐบาลว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำได้คือสมาคมฯเป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อยากให้ภาครัฐเลือกเปิดตลาด หาตลาด ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เดินหน้าต่อไปได้


“เดิมอุตสาหกรรมรถยนต์ผู้เล่นหลักเป็นญี่ปุ่น ยุโรป มีจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ มองเป็นประโยชน์เพิ่มกำลังการผลิต ทำให้ต้องปรับมุมมองภาครัฐ ส่งเสริมสนับสนุนต่อเนื่องและฟังเสียงผู้ประกอบการ ต้องช่วยกันทำให้ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีก”นายสุวัชร์ กล่าว