แกะรอย TCPรับมือAI ปกป้องวิกฤติน้ำ ปรับระบบการผลิตฟื้นชีวิตชุมชน

by สินนภา ดีเลิศพัฒนา, 2 เมษายน 2567

TCP ยืนหยัด รับมือสู้ภัยแล้ง เผยหลากขั้วภัยคุกคามทรัพยากรน้ำ อากาศเปลี่ยน เสี่ยงน้ำลด สงคราม และAI สูบทรัพยากรน้ำป้อนระบบข้อมูล รุดสำรองน้ำ จับมือพันธมิตรป้องวิกฤติน้ำ พร้อมปรับระบบการผลิตฟื้นฟูรายได้ชุมชนอยู่ในห่วงโซ่

 

ความซับซ้อนของปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคน สังคมและสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้น น้ำขาด น้ำแล้ง เกินสมดุลเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โลกยังเผชิญกับความเสี่ยงต่อจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก (AI-Artificial Intelligence)เข้ามาเปลี่ยนแปลง อำนวยความสะดวกให้กับชีวิตแล้ว แต่ในอีกด้านก็ใช้ทรัพยากรมหาศาลโดยเฉพาะการใช้น้ำ ที่มีส่วนจำเป็นต่อภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภค รวมถึงระบบนิเวศ

ภายในงานเสวนา Sustainable Daily Talk Action for Change : ทำเดี๋ยวนี้! เพื่อการเปลี่ยนแปลง ายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP ได้กล่าวในหัวข้อ TCP Action for Change : เครื่องดื่มเพื่อความยั่งยืน ที่มีดีเอ็นเอของบริษัทคือการทำธุรกิจต้องควบคู่ไปกับตอบแทนสังคม ว่า จากรายงานบนเวที “World Economic Forum” พบว่าโลกในปัจจุบันเต็มไปด้วยปัจจัยความไม่แน่นอนที่เป็นความเสี่ยงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในรูปแบบเดิมผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมรอบตัว ประกอบด้วย อากาศเปลี่ยนแปลง ภูมิรัฐศาสตร์ สงครามในภูมิภาคต่างๆ ขณะเดียวกันในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Aritificail Intelligence) มาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลก

“AI” คุณและโทษคุกคามทรัพยากร “น้ำ”

ทว่า เทคโนโลยีที่มาช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตของเรา กลับมาพร้อมกันกับภัยคุกคามต่อโลก จึงถือว่าก่อให้เกิดทั้งคุณและโทษ ที่ส่งผลกระทบต่อหลากหลายธุรกิจ เพราะ AI ใช้พลังงานมหาศาล เช่น ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จัดเก็บข้อมูล มีการใช้AI สร้างกระบวนการใช้น้ำเพื่อระบายความร้อนในระบบจัดเก็บข้อมูล (Data Center) และยังนำไปสู่การสร้างข้อมูลเป็นเท็จได้หากนำไปใช้ในทางที่ผิด

การใช้AI ในอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่ลดลง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อสภาพอากาศร้อนขึ้น และนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มีปริมาณและคุณภาพลดลง ไทยอาจจะเผชิญหน้ากับความเสี่ยงนี้

“หลายๆ ประเทศมีการประกาศตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องใช้น้ำอย่างมหาศาล เช่น การใช้แชตจีพีที จะต้องใช้น้ำถึง 500 ซีซี สำหรับการตั้ง 5 คำถาม อยู่ที่ว่าดาต้าเซ็นเตอร์ตั้งอยู่ที่ไหน ซึ่งหากมีการลงทุนเอไอมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสโคป1 ใช้น้ำเพื่อลดความร้อน และสโคป 2 ใช้น้ำเพื่อเข้าระบบ ซึ่งหลายๆ ประเทศมีการประกาศตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ จะต้องใช้น้ำอย่างมหาศาล เช่น การใช้ ChatGPT จะต้องใช้น้ำถึง 500 ซีซี สำหรับการตั้ง 5 คำถาม อยู่ที่ว่าดาต้าเซ็นเตอร์ตั้งอยู่ที่ไหน ซึ่งหมายความว่าจะมีการใช้น้ำอย่างมหาศาลเมื่อธุรกิจ AI เติบโตขึ้น”

 


68 ปี จากอีสานเขียว สู่
การผลิตคืนน้ำกลับสู่ทรัพยากร

นี่คือ ผลกระทบในรูปแบบเดียวกันกับธุรกิจของ TCP ผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีการใช้น้ำจำนวนมาก บริษัทจึงต้องเตรียมพร้อมปริมาณการสำรองน้ำเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ ด้วยการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ผลิตได้มากกว่า 10 เดือน อีกทั้งยังมีการทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนรักษาแหล่งน้ำให้ยั่งยืน โดยได้มีการคืนน้ำ 17 ล้าน ลบ.เมตร สู่ธรรมชาติ

การบริหารจัดการน้ำคือประเด็นหลักที่ TCP ได้ดำเนินการมาตลอด 68 ปี ที่มีการก่อตั้งธุรกิจเครื่องดื่ม เพราะเป็นการตคอบแทนดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ในอดีตมีการเข้าไปช่วยบริหารจัดการ โครงการ “อีสานเขียว” ร่วมกับภาครัฐ เพื่อคืนความชุ่มชื้น ลดแล้งให้กับคนภาคอีสาน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม

สิ่งเหล่านี้เป็นพัฒนาการการเติบโตของการสร้างความยั่งยืนธุรกิจอยู่คุ่กับสังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับปัจจุบัน เป็นแนวคิด Sustainable คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้

สอดคล้องกับการประเมินของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มองว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้ GDP ติดลบ 0.7% เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนไทยลดลง 9.7 พันล้านชั่วโมง และยังมีผลต่อสุขภาพและโรคระบาดต่างๆอีกด้วย

จากอดีตมีน้ำเหลือจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันสถานการณ์น้ำเปลี่ยนไปอย่างมาก จึงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปริมาณ จึงจัดทำโครงการต่อเนื่อง เป็นการคืนน้ำใช้มากกว่าใช้มาตั้งแต่ปี 2530 โดยโรงงานที่ปราจีนบุรี มีการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ผลิตได้มากกว่า 10 เดือน พร้อมกันกับร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มูลนิธิอุทกพัฒน์ เพื่อช่วยลดผลกระทบให้กับชุมชน รวมถึงโครงการ โอบอุ้มน้ำไทย ทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำตลอดจนรักษาแกล่งน้ำให้ยั่งยืน คืนน้ำ 17 ล้าน ลบ.เมตรสู่ธรรมชาติ สร้างรายได้ 90 ล้านบาท รับมือกับเกณฑ์ทางการค้าและสภาวะโลกร้อนในอนาคต เนื่องจากภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องของทุกคน

“ปีนี้ได้เห็นแม่น้ำลำคลองมีน้ำน้อย ไม่แน่ใจว่าในปีนี้น้ำจะมีกิน หรือใช้พอหรือไม่ จึงต้องมีการเก็บปริมาณน้ำสำรองไว้ใจเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยแล้ง”

 

 


ปรับเพื่อโลก 2 เส้นทาง
ยึดโยงชีวิตเกษตรกร ย้อนสู่ความยั่งยืนธุรกิจ

นายสราวุฒิ กล่าวถึงแผนการเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาธุรกิจยั่งยืนได้เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ปี 2561 ภายใต้แนวคิด การลงมือทำรองรับการปรับตัว “Action For Adaptation” คิดใหม่ ทำใหม่ ปรับธุรกิจผ่าน 2 มิติ การเข้าไปช่วยไม่ให้โลกเข้าไปสู่หายนะจากการเปลี่ยนแปลง และจะปรับตัวในการทำธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมจากภายในให้ยั่งยืน ไม่ใช่แค่ปรับเรื่องปรับบรรจุภัณฑ์ แต่เข้าไปวางการพัฒนาธุรกิจยึดโยงกับการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เกษตกร


โดยในเรื่องแพ็กเกจจิ้ง มีการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างเพื่อดีกับโลกมากขึ้น เช่น ขวดแก้ว ลดน้ำหนักลง 12% ปรับฉลากสั้นลง 4% ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ด้านการขนส่งด้วย นอกจากนี้ ได้ยกเลิกการใช้ขวด PETทั้งหมด และใช้ rPET ที่รีไซเคิลมาเป็นส่วนผสมในการผลิต ส่วนกระป๋องมีส่วนผสมของอะลูมิเนียมจากการรีไซเคิล 70%

“ต้องยอมรับว่า ยังไม่สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ทั้งหมด เนื่องจากแพ็กเกจจิ้งแต่ละอย่างก็มีจุดอ่อน และต้องดูพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย หากเป็นกระป๋องอะลูมิเนียม จุดอ่อน คือเปิดแล้วต้องกินให้หมด และผู้บริโภคอยากเห็นสีของน้ำข้างใน แม้ขวดแก้วรีไซเคิลได้ 100 % แต่น้ำหนักมาก ก็ทำให้เกิดคาร์บอนฯ แนวคิดของ TCP คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ใช้สีในบรรจุภัณฑ์ และออกสินค้าใหม่ร่วมกับเกษตรกร ใช้น้ำมะปิ๊ดแท้จากชุมชน เป็นแนวทางเครื่องดื่มในด้านของความยั่งยืน นอกจากนี้ยังออกเครื่องดื่มน้ำตาล 0% ในผลิตภัณฑ์เรือธงของบริษัท”

 ด้วยสภาวะอากาศที่ร้อน บริษัทฯจึงได้มีการติดตั้งระบบระบายอากาศพลังงานต่ำ ลดอุณหภูมิในโรงงานผลิตลง 5% มีการอบรมคนในโรงงานเกี่ยวกับการคัดแยกขยะเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะ อีกทั้งยังมีเรื่องของการร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) โครงการเก็บสะอาด ในการดึงบรรจุภัณฑ์กลับมารีไซเคิลให้ได้มากที่สุด

 

 

นายสราวุฒิกล่าวเพิ่มเติมว่า เราพยายามเต็มที่ ทำเพราะอยากทำ เพราะเห็นปัญหา ไม่ใช่ทำเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของกฎหมาย เรื่องยั่งยืน เป็นเรื่องท้าทาย ทุกธุรกิจขนาดใหญ่ต้องมีส่วนร่วมเพื่อทำให้ต้นทุนต่ำลง เพื่อที่ทุกธุรกิจจะช่วยกันไดร์ฟสังคมได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หากคนไม่คิดว่าเป็นหน้าที่ตนเองแต่เป็นหน้าที่รัฐบาล และกระทรวงต่างๆ หากคิดแบบนี้จะไม่รอด ทุกคนต้องร่วมมือกันทำ และทำทั้งโลก เพื่อให้โลกอยู่รอด

“ลูกหลานเราจะอยู่ในโลกแบบไหน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำในวันนี้ เราต้องแข่งกับเวลา ปัญหารุนแรงขึ้นทุกวัน แต่สุดท้ายเชื่อว่าคนไทยและสังคมไทยมีแนวคิดเรื่องนี้มากขึ้น แต่ต้องเปลี่ยนเแนวคิดมาปฏิบัติให้ได้ ถ้าหากทุกคนร่วมมือกันจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างแน่นอน”