จับตาอินโดฯ มีเม็ดเงินสะพัด เสือเศรษฐกิจใหม่แห่งอาเซียน

by ThaiQuote, 7 สิงหาคม 2566

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างก้าวกระโดด และฝ่าวิกฤตทางเศรษฐกิจให้ยืดหยัดในตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง และน่าจับตามองที่สุดในอาเซียน

แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environment Social and Governance) เป็นคำยอดฮิตที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ที่ใคร ๆ ต่างพูดถึง

แต่เคยคิดไหมว่า…ทำไมต้องหันมาให้ความสนใจแนวคิด ESG นี้ละ?

“ก็เพราะเป็นการนำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังตอบสนองความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนทั้งในและนอกประเทศ”

ถ้ายังไม่เห็นภาพลองสมมติว่าบริษัท A ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ผลประกอบการดี กำไรงาม แถมยังมีแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้าน แน่นอนว่าถ้าเป็นเราเห็นถึงความพร้อมและมั่นใจที่เลือกลงทุนกับบริษัทนี้แน่นอน!

ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยหลายบริษัทให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ก็ให้ความสำคัญไม่แพ้กับประเทศเรา ในบทความนี้จะมาถอดบทเรียนของประเทศอินโดนีเซีย จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสามารถมาปรับใช้กับประเทศไทย

ประเทศอินโดนีเซียจัดอยู่ในกลุ่ม G20 (คือ ความร่วมมือของกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 19 ประเทศ) ซึ่งให้ความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก และสนับสนุนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ให้พัฒนาควบคู่กันไปให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development Goal: SDG) สู่ความก้าวหน้าที่ของเป้าหมายที่สอดคล้องกับ ESG ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน

โดยสรุปจากผลการดำเนินงานของบริษัท PWC ในประเทศอินโดนีเซีย ของการดำเนินงานภายใต้แนวคิด ESG มีรายละเอียดที่น่าสนใจถึง 4 ข้อหลัก ดังนี้

1.ความพยายามในการผลักดันของการเงินที่ยั่งยืน

การจัดหาเงินทุน ได้แก่ พันธบัตรใหม่ เงินกู้ และพันธบัตร ที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน ถือเป็นฉบับแรกของภูมิภาค ที่เปิดตัวไปในเดือนกันยายน 2564 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกำหนดให้พันธบัตรมีอายุ 12 ปี และคาดว่าจะระดมทุนได้ถึง 584 ล้านดอลลาร์ ในอัตราดอกเบี้ย 1.3%

2.การให้ความสำคัญต่อการปล่อยก๊าซเรือนจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

ได้ตั้งเป้าหมายให้สำเร็จภายในปี 2060 โดยเน้นความจำเป็นในการจัดการความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทการดำเนินงานตามกลยุทธ์สู่การปล่อยก๊าซเรือนจกสุทธิเป็นศูนย์ ในการปลดล็อกมูลค่า ESG และเน้นการนำนโยบายมาใช้โดยธุรกิจในอินโดนีเซียเพื่อเปิดโอกาสทางการค้าการลงทุน ที่คำนึงถึงการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน เช่น รณรงค์การใช้พลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า และตลาดคาร์บอน ควบคู่ไปกับความสนใจในความหลากหลายทางชีวภาพ

3.Indonesia’s Green Taxonomy

คือหนึ่งในนโยบายเริ่มต้นที่พยายามสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนสีเขียวและกระตุ้นให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ ESG ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการเงินที่ยั่งยืน จึงมีกำหนดแผนงานด้านการเงินที่ปัจจุบันอยู่ใน เฟสที่ 2 (Sustainable Finance Roadmap Phase II (2021-2025)) เป็นเครื่องมือที่ช่วยยืดหยุ่นและลดอุปสรรคทางการเงิน แม้ว่าตอนนี้จะเป็นไปโดยสมัครใจ แต่พยายามให้เกิดแรงผลักดันมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อาจนำไปสู่สังคมความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลงทุนระยะยาว

4.Accelerating SDG Investment in Indonesia (ASSIST)

โดย UN เปิดตัว ASSIST ในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุนที่มีอยู่และปลดล็อกแหล่งเงินทุนใหม่สำหรับนำไปสู่ความสำเร็จด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย UN ร่วมมือกับรัฐบาลและกับสถาบันการเงินท้องถิ่น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา สมาคม และผู้มีบทบาทที่ไม่ใช่รัฐบาล ในการพัฒนาพันธบัตรเฉพาะเรื่อง ให้เป็นเครื่องมือทางการเงินแบบผสมผสาน และสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากการถอดบทเรียนข้างต้นมีหลายบริษัทที่นำ ESG เข้าเป็นส่วนสำคัญของการกำหนดนโยบาย แนวทางการ ดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับความยั่งยืน อย่างเช่น คุณ Niko Safavi ประธานผู้อำนวยการ Mowilex อินโดนีเซีย ที่ผู้ผลิตสีและสารเคลือบ ถึงหลักของ ESG ที่ใช้เพื่อส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม สู่การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของ ESG ที่ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนของรัฐบาลละความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจและสร้างวงจรที่ดีอีกด้วย

หลายวิกฤตการณ์ที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความสามารถในการเติบโตทางธุรกิจถึง 5% (ในปี 2022) ซึ่งสวนทางกับการตลาดของโลกเป็นอย่างมาก เป็นอีกหนึ่งประเทศแถบอาเซียนของเราที่น่าจับตาดู และผู้คนหันมาสนใจลงทุนในประเทศนี้มากขึ้น โดยจากปัจจัยหลัก 2 ประเด็น คือ

1.ด้านประชากร

60% ของประชากรเป็นวัยแรงงานและมีอายุเฉลี่ยเพียง 31 ปี ทำให้รายได้ต่อหัว (GDP) อยู่ในระดับต่ำ แต่เศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีการเติบโตที่รวดเร็ว ในปี 2022 IMF ได้คาดการณ์ว่า GDP Growth ของอินโดนีเซียไว้สูงถึงระดับ 5.4% และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอีก 6% ในปี 2023

2.ด้านทรัพยากร

ความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ ถ่านหิน นิกเกิล ดีบุก และน้ำมันปาล์ม ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำมัน และพลังงานไฟฟ้า ซึ่งยังเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญให้กับหลายแบรนด์ เช่น เทสล่า โตโยต้า มิตซูบิชิ และซูซูกิ เป็นต้น เพื่อนโยบายที่รัฐบาลวางไว้สนับสนุนให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินแร่ธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรหลักของประเทศ

อินโดนีเซียจัดว่าเป็นประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและมีโอกาสเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกในอนาคต ประกอบกับ Valuation ของตลาดหุ้นที่ยังซื้อขายอยู่ในระดับที่พอเหมาะ การเติบโตของผลประกอบการที่โดดเด่นและนโยบายที่ส่งผลบวกต่อการส่งออกของอินโดนีเซียและเม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งช่วยทำให้ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียมีเสถียรภาพ และดุลบัญชีเดินสะพัดขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าจับตามองที่สุดในอาเซียนและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมให้กับนักลงทุนได้ในระยะยาว อีกทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และใช้หลักแนวคิด ESG ประกอบการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.pwc.com/id/en/esg/esg-in-indonesia-2023.pdf 

https://www.iflr.com/article/2a647zxame68p5f9pzklc/indonesias-green-taxonomy-prompts-focus-on-esg-value-creation 

https://oxfordbusinessgroup.com/videos/global-platform/niko-safavi-president-director-mowilex-indonesia/

https://www.morningstarthailand.com/th/news/233126/awards-winner-%E2%80%93-retirement-mutual-fund-%E2%80%93-equity.aspx

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ภาวะ 'โลกเดือด'เริ่มแล้ว คนล้มป่วยหลายร้อยราย ในงานชุมนุมลูกเสือโลกเกาหลี

สวนพฤกษศาสตร์ระยอง แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ จุดหมายใหม่ใกล้เมืองกรุงฯ